น้อมรำลึก ในหลวง รัชกาลที่ 9 พระผู้เป็น “อัครศิลปิน” ด้านดนตรี

ยิ่งใกล้กำหนดงาน พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  บรมนาถบพิตร เข้ามาพี่น้องประชาชนชาวไทยต่างก็ยิ่งรู้สึกใจหาย เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมานั้น แม้จะเศร้าโศกเสียใจเพียง  ทุกคนยังคงต้องทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดในฐานะพสกนิกรของพระองค์  

นอกจาก ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระปรีชาสามารถในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้กับพสกนิกรแล้ว สิ่งหนึ่งที่ยังกึกก้องอยู่ในใจชาวไทยทุกคน คือ บทเพลงพระราชนิพนธ์ เป็นสิ่งที่แสดงถึงพระอัจริยภาพทางดนตรีของพระองค์ท่าน

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมน้อมรำลึกในพระอัฉริยภาพด้านดนตรี  ของในหลวง รัชกาลที่ ๙ กับวงดนตรี อส.วันศุกร์ หรือ อัมพรสถานวันศุกร์ เป็นวงดนตรีในหลวงรัชกาลที่ ๙ จัดตั้งขึ้นหลังจากที่พระองค์เสด็จนิวัติประเทศไทยในปี 2494 แล้วไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน ในครั้งนั้น พระองค์ทรงรวบรวมพระประยูรญาติ และคนสนิทมาเล่นดนตรีขับขาน จึงทรงประทานชื่อว่า”วงลายคราม” แต่ภายหลังนักดนตรีได้ชราภาพเสียชีวิตลง จึงรับสั่งให้นายแมนรัตน์ ศรีกรานนท์ ซึ่งปัจจุบันเป็นศิลปินแห่งชาติ จัดหานักดนตรีมาเพิ่มเติม พระราชทานชื่อวงใหม่เป็น “วงดนตรี อ.ส.วันศุกร์”

R radio network ได้ร่วมพูดคุยกับ 3 สมาชิก วง อส. วันศุกร์ อาจารย์นนท์ บูรณสมภพ อาจารย์สันทัด ตัณฑนันทน์ และนายอนิรุทธิ์ ทินกร ณ อยุธยา กับความรู้สึกปลื้มปิติที่ได้มีโอกาสร่วมบรรเลงดนตรีกับพระองค์ท่าน ถือเป็นเกียรติสูงสุดในชีวิต ณ หอสมุดดนตรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙

อาจารย์สันทัด ตัณฑนันทน์ เล่าย้อนความประทับใจว่า ช่วงนั้นผมยังเป็นนักศึกษาอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวันที่พระองค์ทรงให้ร่วมวง อส.วันศุกร์ “ความรู้สึกตอนนั้น ปลาบปลื้ม ไม่ว่าท่านจะให้ทำอะไรผมก็จะทำ สมัยนั้นแหล่งเครื่องดนตรีสำหรับใช้เล่นส่วนใหญ่จะอยู่ที่เวิ้งนครเขษม หรือซื้อที่ห้างมาลินี อยู่ด้านหลังวังบูรพา ซึ่งเครื่องดนตรีในสมัยนั้นจะมีทั้งนำเข้าและเป็นเครื่องมือสอง ระยะแรกพระองค์ทรงใช้เครื่องดนตรีมือสองด้วยเช่นกัน มีเรื่องเล่ากันมาว่า ทรงเก็บเงินซื้อเครื่องดนตรีชิ้นแรกเป็นมือสองด้วยพระองค์เอง โดยซื้อจากสวิตเซอร์แลนด์”

ในส่วนอาจารย์นนท์ บูรณสมภพ หนึ่งในสมาชิก อ.ส.วันศุกร์ ได้เล่าถึงความประทับใจ ในครั้งได้เป็นหนึ่งในสมาชิกของวง อส. วันศุกร์ ว่า “ในช่วงนั้นทั้งสองพระองค์ทรงประทับอยู่ที่พระที่นั่งอัมพรสถาน ทรงโปรดให้ซ่อมอาคารที่สวนจิตรลดาหลังซ่อมเสร็จทั้งสองพระองค์ได้ย้ายไปประทับ และย้ายวง อส. วันศุกร์ มาอยู่ที่สวนจิตรลดาด้วย เป็นห้องซ้อมมีขนาดใหญ่ บุผนัง และเก็บเสียงได้อย่าง นับเป็นห้องส่งที่มีความสมบูรณ์แบบมาก”

อีกหนึ่งนักดนตรีที่เคยได้ถวายงานรับใช้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คือ นายอนิรุทธิ์ ทินกร ณ อยุธยา   เล่าว่า มีโอกาสเข้าร่วมวงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ มาตั้งแต่ปี 2515 รับหน้าที่เป็นมือกีต้าร์ ได้มาร่วมวงดนตรีนี้ เพราะตามพ่อและพี่ชายมา   Wก่อนหน้านี้คุณพ่อได้พาตนไปเข้าเฝ้าพระองค์ท่าน เพื่อขอถวายงานด้านดนตรี โชคดีที่ตนได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในวง เล่นเครื่องดนตรีทรอมโบน ในช่วงเวลาพักจากการเล่นดนตรี พระองค์จะไม่เคยหยุดพัก แต่จะนำแผนงานที่ได้ลงพื้นที่ไปมาถ่ายทอดให้สมาชิกในวงรับฟัง และจะตรัสเสมอว่า ต้องหาวิธีที่ทำให้ประชาชนของท่านอยู่อย่างร่มเย็น เป็นสุข เพราะทุกข์ของประชาชน ก็คือทุกข์ของพระองค์ท่านด้วยเช่นกัน”

สิ่งเหล่านี้ทำให้ทั้งสามท่านต่างซาบซึ้งและภูมิใจที่ได้เกิดมาใต้ร่มพระบารมีของพระองค์ “พระมหากษัตริย์ ที่ทรงงานหนัก ตรากตรำเพื่อประชาชน ถึงแม้วันนี้พระองค์ท่านจะเสด็จสู่สวรรคาลัยแล้ว นำมาซึ่งความโศกเศร้า…”เสียใจได้แต่ต้องไม่ลืมหน้าที่” “ชีวิต ยังต้องเดินหน้าด้วยความหวัง”   ธ ยังคงสถิตย์ในจิตใจของปวงชนชาวไทยตราบชั่วนิรันดร์

สามารถดาวน์โหลด R radio network แอพพิเคชั่นเพื่อรับฟังเรื่องราวดีๆ ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษาได้แล้ว ทั้งระบบ ios และ android ได้แล้ว