อาชีพที่เรานึกไม่ถึง!!!ผู้หญิงบนแท่นขุดเจาะน้ำมัน ว๊ายๆๆ

 

ผู้หญิงกับการส่งต่อพลังงาน   …. เกิร์ล (ไร้) แก๊งค์ ณ แท่นขุดเจาะ

มีความเซอร์ไพรส์อยู่ไม่น้อย ถ้านึกภาพบนท้องทะเลที่ห่างไกล มองไปทางไหนก็ไม่เห็นฝั่ง การทำงาน   บนแหล่งสัมปทานขุดเจาะพลังงาน ไร้ซึ่งการคมนาคมใดๆ จะไปถึง การทำงานต่อรอบไม่ต่ำกว่า 6 เดือน แต่ละวันคืนเห็นแต่ท้องทะเล และแสงสว่างจากการเผาผลาญ   นานเป็นภาพชินตา  หลายคนคงคุ้นเคยกับ  “ชายกำยำในชุดทำงานสีส้ม” น้อยคนนัก หรือแทบจะไม่มีความจำเลยว่า งานประเภทนี้ก็มี “ผู้หญิง” ด้วย สมัยนี้ 4.0 อะไรๆ ก็เป็นไปได้ ภายใต้การทำงานที่เรียกว่าอุตสาหกรรมหนัก สาวละอ่อน แช่มช้อย ยุคนี้ก็ก้าวไปได้ไกลถึงขั้น “วิศวกรกระบวนการผลิต” บนแท่นขุดเจาะพลังงาน  และอาจจะเป็นงานเทรนด์ใหม่ๆ ที่ผู้หญิงหลายคนสนใจด้วย

ได้มีโอกาสพูดคุยกับ   “กนกพร สินธวารยัน” วิศวกรกระบวนการผลิต ฝ่ายวิศวกรรมอุปกรณ์การผลิต ปตท.สผ.  ภายในโครงการประกวดหนังสั้น หัวข้อ “ความรู้สร้างคน พลังงานสร้างชาติ ที่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. จัดขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี แหล่งก๊าซธรรมชาติบงกช โรงเรียนต้นแบบและเป็นจุดกำเนิดของการสร้างองค์ความรู้ในการสำรวจ พัฒนาและผลิตปิโตรเลียมของคนไทย  ดังนั้นเพื่อให้คนรุ่นใหม่ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งต่อองค์ความรู้  เสริมสร้างความมั่นคงของประเทศ จึงใช้หนังสั้นเป็นสื่อในการเล่าเรื่องผ่านมุมมองของคนรุ่นใหม่ นอกจากประเด็น “การส่งต่อองค์ความรู้-ด้านการผลิตพลังงาน” ให้กับคนไทยด้วยกัน เพื่อใช้ในประเทศเราเอง ลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างแดนแล้ว มิติใหม่ที่ได้รับความสนใจคือ         องค์ความรู้และโลกที่เปิดกว้าง ไม่ได้จำกัดให้งานหนักขนาดนี้ เป็นเพียงแต่ผู้ชายเท่านั้นที่รับผิดชอบ หากแต่ยังมีผู้หญิงตัวเล็กๆ เป็นฟันเฟืองและองค์ประกอบ ระหว่างสัมภาษณ์ เราคาดว่า จะเป็นเทรนด์ของอาชีพในฝันสาวๆ  ต่อจากนี้ไป  เพราะดูแล้ว มัน เท่ห์ มาก

“ เอาจริงก็ไม่ได้คิดว่าจะต้องมาทำงานที่ไกลเหมือนอีกโลกหนึ่งขนาดนี้นะคะ แต่ก็ไม่ได้ถึงกับประหลาดใจมากเพราะจากสาขาที่เราเลือกเรียน ก็พอจะทราบอยู่แล้วว่าสามารถมาทำงานในลักษณะนี้ได้” กนกพร สินธวารยัน เผยถึงเส้นทางก่อนตัดสินเรียนวิศวกรรม  “แรกๆ ไม่รู้จักใครเลย มาถึง เอาความรู้สึกจริง ผู้ชายแต่ละคนก็หน้าตาน่ากลัวกันทั้งนั้น (หัวเราะ) ช่วงแรกเขาก็จะทำหน้านิ่งๆ เราก็ยังไม่หายเกร็ง เข้าใจว่าทุกอย่างต้องใช้เวลา ต่อไปมันก็จะดีขึ้น สักประมาณ 3 เดือน ก็เริ่มรู้จักกัน และค่อยๆ ปรับตัวเข้าหากันได้ดีค่ะ”   ผู้หญิงบนแท่นมีน้อย?ใช่ค่ะ มีภาวะเกิร์ลแก๊ง ผู้หญิงก็จะนอนห้องเดียวกัน รอบการทำงานบนแท่นฯ ก็มีผู้หญิงสัก 2-3 คน ก็จะเริ่มจับกลุ่มกันบ้าง” ปกติผู้หญิงทำอะไรบนแท่นยามว่าง T25 ค่ะ (หัวเราะ) ก็มีฟิตเนสบ้าง บางทีก็ลงไปวิ่ง แต่ไม่ได้ถึงกับลงไปเตะบอลกับพี่ๆ เขา บางทีก็มีร้องเพลง เขามีเล่นดนตรี ก็ไปร้องเพลง ซ้อมดนตรีบ้าง”

การทำงานขุดเจาะ บนแท่งบงกช ในทะเลเวิ้งว่าง ห่างไกล กนกพรเล่าว่า “พี่ๆ เขาค่อนข้างให้ความใส่ใจดี แต่ที่สำคัญกว่าคือการเปิดใจและรับฟังความคิดเห็นของเรา บางทีเราเห็นในสิ่งที่เขาไม่เห็น เราก็เสนอไอเดียได้ ถ้าสามารถพิสูจน์ว่าไอเดียนั้นสามารถทำได้จริง และเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลของการทำงานด้วยแล้ว พี่ๆ เขาก็พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน เรารู้สึกว่าเขาเห็นคุณค่าของพลังเล็กๆ อย่างเรา การที่เรามีการส่งต่อองค์ความรู้ มันไม่ใช่แค่เรียนรู้มา แต่มันต่อยอดไปได้เรื่อยๆ จุดนี้เป็นจุดที่รู้สึกว่าการทำงานกลายเป็นเรื่องสนุกสำหรับคนรุ่นใหม่ ที่สำคัญอีกอย่างคือที่ ปตท.สผ. ให้โอกาสได้เรียนรู้งานหลากหลายมาก การได้เข้าไปอยู่ในพื้นที่ปฏิบัติงานจริงทำให้เราเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นหน้างานมากขึ้น เวลาจะปรับเปลี่ยนอะไร พัฒนาอะไร ก็จะอิงกับความเป็นจริงว่ามันจะต้องสะดวกต่อคนที่ใช้งานเครื่องมืออุปกรณ์นั้นจริง ๆ”

เมื่อเราถามถึงสิ่งที่กนกพรได้เรียนรู้จากแท่นบงกชนอกเหนือจากการทำงาน เธอยิ้มแล้วเล่าว่า “อย่างแรกคือความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ เราได้เห็นฉลามวาฬมาว่ายน้ำรอบแท่นหลายครั้ง ทำให้รู้สึกว่าเรายิ่งต้องเข้มงวดกับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ อย่างที่สองคือเรื่องความรักครอบครัว ส่วนใหญ่คนที่อยู่บนนั้นรักครอบครัวนะ อย่างตอนเย็นก็จะเห็นคนเป็นพ่อเฟสไทม์คุยกับลูก ได้เห็นด้านอ่อนโยนที่ปกติตอนทำงานไม่เห็น ซึ่งถ้าเป็นการทำงานในออฟฟิศ ถ้าเลิกงาน ก็แยกย้ายกันกลับบ้าน  ก็คงไม่เห็นด้านอ่อนโยนแบบนี้”

Greater Bongkot South

เมื่อต้องมาทำงานไกลบ้าน ผู้หญิงตัวคนเดียว !! “ที่บ้านค่อนข้างชินกับการที่เราต้องเดินทางบ่อยๆ เพราะตั้งแต่ทำงานก็เดินทางบ่อยมาตลอด ช่วงแรกที่เข้ามาทำงานก็จะอยู่ที่แหล่งสิริกิติ์ พิษณุโลก ตอนนั้นก็ต้องเดินทางทุกสัปดาห์เลย มีบินไปต่างประเทศเดือนสองเดือน ครอบครัวก็เข้าใจดีค่ะ ถ้าพูดถึงการทำงานบนแท่น เขาก็ห่วงนะ แต่ก็ไม่ได้ถึงขั้นไม่ให้ไป เพราะเขาไว้ใจกับมาตรฐานความปลอดภัยของบริษัทฯ”

ไกลพอมั๊ยยย เวิ้งว้างงงง