เทคนิคจับปลาในน่านน้ำสีคราม ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ตอนที่ 2

  • เศรษฐกิจเปรียบดั่งมหาสมุทร ทั้งเรดโอเชี่ยน บลูเอเชี่ยน การจะทำอย่างไรให้องค์กรและตัวเองอยู่รอดเป็นเรื่องใหญ่
  • เก็บตกวิสัยทัศน์จากงาน  Krungsri Business Forum 2018  ติดอาวุธให้กับผู้ประกอบการ นักลงทุน ฯลฯ มีแนวคิดหลายอย่างน่าสนใจ
  • วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ที่จะมาร่วมงานสัมมนา ดร.สมประวิณ  มันประเสริฐ    ดร.สันติธาร เสถียรไทย Group Chief Economist , Sea Limited Professor Chan Kim  ผู้เขียนหนังสื  Blue Ocean  
  • หากเป้าหมายคือน่านน้ำสีคราม นิพพานทางเศรษฐกิจ ปลอดซึ่งภาวะการแข่งขัน  win win ทุกฝ่าย ในยุคต่อไปนี้ ควรทำอย่างไร

ดร.สันติธาร เสถียรไทย Group Chief Economist , Sea Limited

พรมแดนที่จางหายในยุคดิจิทัล

ปัจจุบัน ผมเป็นนักเศรษฐศาสตร์ ยุทธศาสตร์ ให้คำปรึกษานักลงทุนที่จะเข้ามาในอาเซียน ย้อนกลับไป  ตัวผมเองไม่ได้เกิดมาในยุคดิจิทัล กว่าจะใช้อีเมล์ก็ตอนเรียนแล้ว แม้โลกเปลี่ยนแปลงเร็วมาก แต่จุดเปลี่ยนของผมจริงๆ คือ ตอนมีลูกชายคนแรก ผมมองอนาคตไกลขึ้น ตอนนั้นผมทำงานประจำทิ่สิงคโปร์ (อย่างที่รู้ บุคลิก ชอบคุยกัน ขี้กังวล จะเตรียมการศึกษาให้โลกอย่างไร ยิ่งคิด ยิ่งคุย ยิ่งกังวล)  กลับมาสะท้อนภาพตัวเองด้วยว่า เราเองล่ะจะเป็นอย่างไร จึงสนใจเรี่อยๆ และทำการศึกษามากขึ้น ทันใดนั้นก็ได้รับโอกาสในตำแหน่งใหม่  พบเทรนด์น่าสนใจมากขึ้น บวกกับได้เป็น คอลัมน์นิสต์ จดหมายแห่งอนาคต อยากให้ลูกอ่าน เพื่อเตรียมตัวในอีกยี่สิบปีข้างหน้า

จึงได้คุยกับคนทั่วไป นักวิชาการ นักทำนายอนาคต ฯลฯ ถ้าไม่เข้าถ้ำเสือก็ไม่ได้ลูกเสือ จึงย้ายงานสู่ภาคเทคโนโลยี ปัจจุบัน sea บริษัทลูกการีน่า ทำเกมออนไลน์ อีเพย์เมนท์ ฯลฯ ย้ายเข้ามาวงการนี้คือ สิ่งที่เห็นภาพที่เราเคยมองว่าเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วเหลือเกิน ทุกๆ นาทีมีการเปลี่ยนตลอดเวลา ทุกหนึ่งนาที มีการส่งอีเมล์ 187 ล้านอีเมล์ ล็อคอินเก้าแสนเจ็ดหมื่นครั้ง ฯลฯ การเติบโตที่ผงาดชึ้น ให้ผู้ซื้อ ผู้ขาย มาเจอกัน เรามีบริษัทฯ ที่เป็นมีเดียที่ไม่มีผู้สื่อข่าวหรือแผนกคอนเทนต์เลยคือ เฟสบุ๊ค, มีเจ้าแห่งธุรกิจโรงแรม แอร์บีเอ็นบี ซึ่งไม่มีโรงแรมของตัวเอง, มีผู้ให้บริการแท็กซี่มูลค่าสูงอย่าง อูเบอร์  ทั้งที่ไม่มีรถสักคัน และห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่ที่สุดอย่าง อะเมซอน ไม่มีหน้าร้าน สาขา แต่ผลประกอบการมหาศาล ฯลฯ เราเรียกว่า “ธุรกิจแพลตฟอร์ม” ที่มาพร้อมกับพรมแดนหลายอย่างที่จางหายไป ทำธุรกิจต่อจากนี้ ต้องเปลี่ยนวิธีคิด

พรมแดนแรก คือ การเข้าสู่อินเทอร์เน็ต แต่ก่อนต้องไปนั่งหน้าพีซี ห้องแลบ มีโมเด็ม ตอนนั้นมีสาย ไปไม่ถึง

แต่ตอนนี้เข้าถึงง่ายๆ โดยการใช้มือถือเครื่องล็กๆ ซึ่งจะว่าไปปัจจุบันมีพลังการประมวลมากกว่าคอมฯ ที่นาซ่าส่งคนไปดวงจันทร์เมื่อสมัยก่อนเสียอีก และราคาถูกลงเรื่อยๆ คนไทยมีมากกว่าหนึ่งเครื่อง คนอาเซียนโดยรวมมีมือถือ 47 เปอร์เซนต์ แล้วเพิ่มเป็น 56 เปอร์เซนต์  ทำให้การซื้อขายออนไลน์ เฟสบุ๊ค อินสตาแกรม ไลน์ บูมจริงๆ เราเรียกมันว่า  “โซเชี่ยลคอมเมิร์ท”  ที่ทำผ่าน “โซเชี่ยลมีเดีย”  การซื้อของอนไลน์ของคนไทย ไม่เหมือนอเมริกา ในอเมริกาเพราะขับรถไกล สั่งผ่านมือถือง่ายกว่า แต่เอเซีย เอเลเมนต์ที่เป็นเอ็นเตอร์เทนเนต์ สังคม คือ คุยกับแม่ค้า ได้รู้จัก เชื่อถือ รีเลชั่นสำคัญมาก บางทีของอาจจะไม่ถูกใจมาก แต่ซื้อเพราะแม่ค้าใจดี นิสัยดี  ดั้งนั้นกีรทำ “อีคอมเมิร์ซ”  ให้เป็น “โซเชี่ยลคอมเมิร์ซ”  ได้ด้วย ซื้อของ จ่ายเงิน คุยแม่ค้า เป็นจุดที่กลืนกัน

Consumer to Consumer หรือ C2C คนขายเป็นเจ้าเล็กๆ บุคคลธรรมดา วันนี้เป็นคนขาย พรุ่งนี้เป็นคนซื้อ มะรืนเป็นคนขาย ช่อองว่างจางหายไปเยอะมาก สิ่งที่ตามมา ของหลายอย่าง เป็นโลคัลมาก ลูกค้าไม่ได้มาซื้อของอย่างเดียว แต่ที่นี่เต็มไปด้วยความหลากหลาย สินค้าบางอย่างไม่มีตามห้าง หรือถ้าไม่มีออนไลน์ ไม่ได้มาขายด้วยซ้ำ

จากการศึกษาวิเคราะห์ยอดขาย (สต๊อกใน 7 ประเทศ ผู้ประกอบการสี่พันกว่าคน)  สิ่งที่พบ สองในสามเป็นผู้หญิง หลายคนไม่ได้อยู่ในเมืองหลวงอยู่ต่างจังหวัด ออกจากตลาดแรงงานไปตอนมีลูก แต่ขายดีมากเหลือเกิน ในที่สุดสามีออกจากงานมาช่วยภรรยา ขายของจริงจังได้ มีเรื่องของ ดิสคัพเวอรี่ ค้นพบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เติบโตอย่างไร มีการลงทุน เพียงแต่ไม่ได้ลงทุนซื้อเครื่องจักร สร้างโรงงาน แต่เป็นการดึงคนขายเข้ามาอยู่ในระบบ (เอ็ดดูเคชั่น หรือ ลดราคา)

เมื่อมีคนขายเยอะขึ้น คนซื้อเยอะขึ้น หลากหลาย คนขายเข้ามา เกิดวงจรบวก ขยายตัว เติบโตทุกอัน (ทรูไซเดอร์มาร์เก็ต ใช้ไอทีเอฟเฟคต์) โลกปัจจุบันการลงทุนน้อยมากเลย แต่ผู้ประกอบการเยอะมาก นี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งก็ได้  แต่ก่อนลงทุน ขยาย วอลุ่มมหาศาล ขณะที่ปัจจุบัน ดาต้า เป็นเอสเซทของธุรกิจยุคใหม่ พอได้ดาต้ามหาศาล สุดท้ายอนาคตจะเป็น C2B

C2B คือ ลูกค้าป้อนข้อมูลให้ร้านค้าผ่านแพลตฟอร์ม เปลี่ยนจากเมื่อก่อน มีของวางบนหิ้งอยากให้คนมาซื้อ แต่ตอนนี้เริ่มเข้าสู่ยุคที่คนรู้จักลูกค้ามากกว่าลูกค้ารู้จักตัวเองเสียอีก เมื่อก่อนงบโฆษณาเยอะ ยิงปืนลูกซอง หวังว่าจะโดนบ้าง แต่ดาต้า เหมือนยิงสไนเปอร์ แม่นปืน โดนทาร์เก็ตแบบไม่ต้องใช้กระสุนมาก บริษัทเทคโนโลยีแพลตฟอร์มกินโลกแน่เลย  เมื่อก่อนมีคำพูด ปลาใหญ่กินปลาเล็ก,  ปลาเร็วกินปลาช้า ต่อไปผมว่า ปลาไวกินปลาเชื่องช้า แน่นอน  ผมคิดว่านักธุรกิจทุกคน ต้องกล้าออกจากคอมฟอร์ทโซน การเป็น ปลาไว น่าจะสำคัญที่สุด

 

พรมแดนสุดท้าย คือ พรมแดนแห่งการเรียนรู้ เราต้องเป็น “นักเรียนทุกวัน”

ต้องเปลี่ยนที่คน การเรียนรู้ยังมีกรอบ แต่ก่อนคนทำงาน ผู้มีประสบการณ์ คือ กูรู แต่ยุคใหม่ไม่มีความแน่นอนตายตัวแล้วครับ นักเรียนก็สามารถเป็นกูรูได้ คนอัดวิดีโอลงยูทูปเยอะแยะ คนเหล่านั้นอาจสอนเราได้มากกว่าก็ได้  ฉะนั้น การเรียนรู้ต่อจากนี้ เรียนรู้ตลอดชีพ เป็นนักเรียนทุกวัน สิ่งที่ยากไม่ใข่การหาคำตอบ หาข้อมูล สิ่งที่ยากคือ การหาคำถาม  เราเต็มไปด้วยข้อมูล ไปหาคอร์สเรียนโดยไม่มีเหตุผล ต้องมีคำถามก่อน องค์กรและทีมที่สร้างความอยากขวนขวาย เรียนรู้ ต้องมีไลฟ์ ลอง เลิร์นนิ่ง ช่องว่างระหว่างมหาวิทยาลัยกับออฟฟิศควรน้อยลง  ออฟฟิศต้องกระตุ้นการเรียนรู้ มีคามเป็นมหาวิทยาลัย   

พรมแดน ไม่ใช่ พรหมลิขิต เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา เทคโนโลยี ทุกครั้งที่เปลี่ยน กรอบที่เราคุ้นเคยเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น พรมแดนแรก การเช้าอินเทอร์เน็ตง่ายขึ้น,  แพลตฟอร์ม ซื้อขาย เปลี่ยนไปมาได้ข้ามวัน, ของที่เราคิดว่าธรรมดาหรือสินทรัพย์จับต้องไม่ได้ อาจกลายเป็นสินทรัพย์มูลค่ามหาศาล และในโลกที่เลปี่ยนแปลงเร็วขนาดนี้  สำคัญต้องเป็นปลาไว เปลี่ยนแปลงทันท่วงที