ทัศนคติสำคัญกว่าไอคิว และความฉลาด อย่าลืมวิชาชีวิต เพราะการศึกษาเปลี่ยนโลกได้

ดร.ตวง อันทะไชย : ต้องยอมรับว่า การศึกษาสร้างคน สร้างชุมชน และสร้างชาติในศตวรรษที่ 21 มันจะไม่เหมือนเดิมแล้ว เพราะโลกเปลี่ยน นโยบายรัฐบีบ วันหนึ่งในอดีต โลกเปลี่ยนไปเป็นใช้เอไอไปแล้ว ในอดีตผู้ปกครองส่งธนาณัฐให้ลูกนำไปจ่ายค่าเทอม แต่ยุคนี้โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว เดี๋ยวนี้เราส่งไลน์แทนจดหมายแล้ว ตอนนี้เรามีหมอที่เป็นเอไอแล้ว เราจะสามารถอยู่กับโลกที่เปลี่ยนได้ไหม  โลกเปลี่ยนชีวิตต้องเปลี่ยน ในอดีตยุคสองจี โทรเลข ธนาณัติเลิก ต่อไปยุค 5 จี มีทั้ง fintech / block chain /digital/ business / robot ในอนาคตเราต้องไปสร้างนวัตกรรมก็ได้แม้ไม่ต้องจบปริญญา แต่ขอให้สร้างสิ่งใหม่ ๆ ได้   ในระบบโรงเรียนเด็กๆ ต้องสังเกตตัวเองว่า การเรียนเรียนอะไรแล้วชอบ เรียนไประยะหนึ่ง เมื่อค้นพบสิ่งที่ชอบ หยุดเรียนฝากหน่วยกิตไว้แล้วไปทำงานก่อนได้  ในรูปแบบอาชีพ ดังคำพูดที่ว่า “ จินตนาการสำคัญกว่าความรู้“ หรือ  “ทัศนคติสำคัญกว่าไอคิว และความฉลาด”  โลกของการศึกษาในอนาคต คือ

  1. การจัดการศึกษาคือการพัฒนาและเตรียมคนให้ไปอยู่ได้ใน สังคมอินเทอร์รับชั่นได้
  2. การจัดการศึกษาคือการพัฒนาคน ให้เต็มศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวของผู้เรียน
  3. ประหนึ่งว่า นกต้องอยู่บนฟ้า ปลาต้องอยู่ในน้ำ จึงจะเป็นอัจฉริยะ และเราต้องเชื่อว่าเด็กทุกคนสมารถเรียนรู้ได้ เด็กทุกคนมีความฉลาดที่แตกต่างกัน โรงเรียนต้องหาทางบ่มเพาะสติปัญญาหรือความฉลาดที่แตกต่างกันของปัจเจกโดยอาศัยวิธีการที่สมดุลย์    เพราะเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน เมื่อโลกเปลี่ยน เกิดปฏิวัติโลก เกิดระบบเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน เกิดปัญญาประดิษฐ์และการตัดสินใจ เกิดอินเตอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง การเรียนรู้ในศตวรรษใหม่ไม่ได้พูดถึงปริญญา แต่พูดถึงความเก่งในตัวเด็กแต่ละคน เราในฐานะครูผู้สอนจะทำอย่างไร  เราต้องพัฒนาระบบการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ ต้องถามเด็กว่าเขาจะเป็นอะไร อยากเรียนอะไร เช่น เขาอยากเป็นนักฟุตบอลก็ไม่ต้องเก่งด้านฟิสิกซ์ ชีวะ เราต้องหาศักยภาพของเด็กแล้วดึงความเก่งนั้นออกมา เราจึงต้องเปลี่ยนวิชาการ

เราจึงต้องเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา เช่น เก่งวาดรูป ค้นพบศักยภาพที่อยู่ในตัวเด็ก เกิดการศึกษาตามอัธยาศัยในสาขาอื่น ๆ   ทำอย่างไรจะค้นพบ ขึ้นอยู่กับขั้นตอนการเรียนการสอน ครูต้องค้นหา ในศตวรรษที่ 21 จะไม่อยากได้เด็กเก่ง ชีวะ ฟิสิกข์โดดๆ แต่อยากได้คนที่มีทักษะทำงานร่วมกับคนอื่นได้ คิดเป็น ออกแบบเป็น รู้จักควบคุมสติและอารมณ์ และทำงานข้ามวัฒนธรรมได้  จึงต้องพูดกับคนกันเองรู้เรื่อง เราลืมวิชาชีวิตของเราไป เด็กต้องเรียนรู้วิชาชีพและวิชาชีวิตด้วย คือต้องมีทักษะชีวิตคือซอฟท์สกิล ต้องฝึกให้เด็กรู้จักอดทนอดกลั่น สอนให้เด็กรู้ว่าเด็กเป็นใคร ชอบอะไร เรายังไม่มี เราต้องฝึกให้เด็กรู้จักการยอมรับสังคมที่แตกต่าง

เมื่อเรารู้ว่าเด็กเชี่ยวชาญเฉพาะอะไร โรงเรียนต้องสอนตอบโจทย์ให้ได้ ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์ของชาติ สิ่งสุดท้ายถ้าโลกเป็นแบบนี้ องค์กรส่วนท้องถิ่นหากจัดการการเรียนการสอนตัวเองได้  อยากให้เราเข้าใจระบบการศึกษาก่อน ไม่ได้หมายถึงแค่ในโรงเรียน แต่หมายถึงบริษัทห้างร้าน ชุมชน ทุกอย่างถูกตีเป็นโอกาสแห่งการเรียนรู้ เราสามารถเปลี่ยนไปเรียนในสถานประกอบการ ไปสอนในสถานที่ที่เด็กสนใจจะเกิดกระบวนการการเรียนรู้ทีเด็กสนใจ และเรียนรู้ได้เร็วเพราะเขาชอบ

ไม่มีเครื่องมือใดดีไปกว่า ระบบการศึกษา ระบบการศึกษาสร้างคนและสร้างชุมชนได้  อย่าคาดหวังปฏิรูปเศรษฐกิจการเมืองไทย เพราะการศึกษาเป็นเครื่องมือเดียวที่จะเปลี่ยนแปลงโลกได้

ลิงค์วิดีโองานเสวนา

https://www.youtube.com/watch?v=EV6IXW_Yrq4