“อยากคิดพล็อตหนังให้ปัง ต้องทำยังไง”

เรียนรู้กับกูรู & ส่องไอเดียคนรุ่นใหม่

ในกิจกรรมเวิร์กชอป “ยูเมะพลัส มันนี่ ฟิตเนส ซีซั่น 2

บมจ.อีซี่บาย จัดกิจกรรมเวิร์กชอป Umay+ MONEY FITNESS SEASON 2 ภายใต้หัวข้อ         “ใช้เงินยังไง…ให้อยู่เป็น” การประกวดสตอรี่บอร์ดเพื่อนำไปผลิตหนังสั้น ไม่เกิน 3 นาทีชิงทุนการศึกษารวมกว่า 150,000 บาท โดยมีนักศึกษาให้ความสนใจ ส่งผลงานเข้าประกวดกว่า 200 ทีม จาก 27 มหาวิทยาลัย จากนั้นคัดเลือก 10 ทีมเข้ารอบสุดท้าย พร้อมมอบประสบการณ์เวิร์กชอป ให้เป็นนักเล่าเรื่อง     ที่ดีก่อนจะคัดเลือกทีมผู้ชนะเลิศที่ทำสตอรี่บอร์ดไอเดียได้เจ๋งที่สุดเพียงหนึ่งเดียว เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตหนังสั้นอย่างมืออาชีพกับโปรดักชั่นเฮ้าส์ระดับแนวหน้าของเมืองไทย เมื่อวันที่16 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา (สาทร กรุงเทพ)

ภายในงานเวิร์กชอปปีนี้ จัดขึ้นหัวข้อ “อยากคิดพล็อตหนังให้ปัง ต้องทำยังไง” โดยมีโปรดักชั่นเฮ้าส์ชั้นนำ คุณอู๋ วีรยุทธ ล้อทองพานิชย์, คุณกอล์ฟ จิรายุ อาจสำอางค์ พร้อมด้วยคุณเสือ พิชย จรัสบุญประชา, คุณตือ ศิวกร จารุพงศา ผู้กำกับหนังโฆษณาร่วมบรรยาย ทั้งหมดให้ความเห็นว่าการทำหนังสั้นยุคโซเชียล ซึ่งผู้ชมมีเวลาสนใจน้อย บวกกับสิ่งเร้าความสนใจภายนอกเยอะ เป็นชาเลนท์อย่างหนึ่งที่คนเบื้องหลังหนังสั้นต้องแอคทีฟทุกวัน โดยหลักคีย์ซัคเซสในแต่ละยุคสมัย หัวข้อไม่เปลี่ยนไป เพียงแต่ปรับตามบริบทดังนี้

“อยากคิดพล็อตหนังให้ปัง ต้องทำยังไง? 1. ต้องตอบโจทย์ 2. มีอินไซด์ 3.ประเด็นเข้าใจง่าย 4. รู้ว่าสื่อสารกับใคร 5. ไอเดียต้องมา”

“ยุคนี้การสื่อสารต้องเปลี่ยน เพราะในโลกออนไลน์ทุกคนต้องการเข้าใจอย่างเร็ว เปิดออกมาแล้วทุกคนต้องเข้าใจว่าเรื่องเป็นแบบไหน อะไรที่ย่อยง่ายและเร็วที่สุด ผู้ชมจะใช้เวลาดู”

“หนังสั้นแต่ละยุค ก็ไม่เหมือนกัน สูตรสำเร็จในแต่ละยุค เอามาก็อปปี้แล้ววางไม่ได้ เพราะมันขึ้นอยู่กับอินไซด์ของผู้ชมช่วงนั้น เขาทำอะไรกันอยู่ เขาอินกับเรื่องอะไร ที่สำคัญตลาดโซเชียล ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น อะไรที่อยู่กับสถานการณ์ใหม่ๆ ที่กำลังมา วัยรุ่นจะสนใจและทำความเข้าใจ อย่างที่ผ่านมา ถ้ามีกลิ่นอายเกี่ยวกับโควิด หยิบสถานการณ์ปัจจุบัน ที่เขากำลังสนใจมาบอกเล่า ผ่านเรื่องราวที่เราต้องการจะสื่อ คนก็จะให้ความสนใจและเข้าใจได้เร็ว”

กับคำถามที่ว่า “ปังจริงไม่อิงยอดวิว วัดจากอะไร?” คนวงในทั้งสี่ตอบว่า “ปังจริง วัดจาก ความแปลกใหม่ ความน่าสนใจ เนื้อหาถูกต้อง ต้องมาก่อน ตอบโจทย์ว่าคุณกำลังจะเล่าเรื่องอะไร โดยเฉพาะหนังสั้นประกวด แต่ละหัวข้อ ทำมาตอบโจทย์แค่ไหน อยากพูดเรื่องการออม แต่คุณไปเล่าสโลว์ไลฟ์ มันไม่ไปด้วยกัน ต้องพูดเรื่องที่เกี่ยวกับหัวข้อ อยู่กับประเด็น บนถนนเส้นหลัก อย่างหลงเข้าซอย พูดเรื่องเดียวกันนี้แหละ แต่จะสร้างความแตกต่างให้กับเรื่องตัวเองได้อย่างไร ขึ้นอยู่กับวิธีการนำเสนอ”

เรียนรู้กับกูรูไปหลายแง่มุม หลังจากนี้เป็นการส่องไอเดียคนรุ่นใหม่ พร้อมช่วยต่อเติม ก่อนทั้งหมด จะนำผลงานไปปรับปรุง เพื่อพรีเซนต์ต่อคณะกรรมการในรอบชิงชนะเลิศ โดย 10 สุดยอดไอเดียที่เข้ารอบ ในหัวข้อ “ใช้เงินยังไง…ให้อยู่เป็น” ของกิจกรรม Umay+ MONEY FITNESS SEASON 2 มีดังนี้

1. ชื่อเรื่อง : จอมทอง จากทีม ยัง เครซี่ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

2. ชื่อเรื่อง : กระปุกหมูกู้ชีวิต จากทีม อันเดอร์ ดรีม มหาวิทยาลัยนเรศวร  จังหวัดพิษณุโลก

3. ชื่อเรื่อง คัมภีร์พระตังค์ซัมจั๋ง จากทีม ซีอิ๊ว จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

4. ชื่อเรื่อง : Mindset จากทีม มายด์เซต จากมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

5. ชื่อเรื่อง : Timeline ไม่ คิด จากทีม รูดปี๊ด ปื๊ด จากมหาวิทยาลัยศิลปากร

6. ชื่อเรื่อง : 30 จากทีม สามเส้า มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

7. ชื่อเรื่อง ผู้มาจากอนาคต จากทีม ไอ ด้อน โนว มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

8. ชื่อเรื่อง เงินเก็บ จากทีม กาชิมูชิ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

9. ชื่อเรื่อง : อย่าแกงตัวเอง จากทีม นาตาชา โรมานอฟ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

10 ชื่อเรื่อง: สูตร (ไม่) ตายตัว จากทีม แพโกพายอ มหาวิทยาลัยศิลปากร

มาร่วมค้นหาทีมผู้ชนะเลิศที่จะได้รับทุนการศึกษาพร้อมได้ประสบการณ์ร่วมผลิตหนังสั้น กับ WinkWink Production (วิ้งวิ้ง โปรดักชั่น) และ Dexter Bangkok (เด็กซ์เตอร์ แบงคอก) ร่วมกับคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญทั้ง 4 ท่าน คุณอู๋ วีรยุทธ ล้อทางพานิชย์, คุณกอล์ฟ จิรายุ อาจสำอางค์, คุณเสือ พิชย จรัสบุญ ประชา และคณะกรรมการรับเชิญ คุณเก้า จิรายุ ละอองมณี วันศุกร์ที่ 28 ส.ค. นี้ ณ หอศิลป์กรุงเทพฯ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่www.umayplusmoneyfitness.com เฟสบุ๊ค I love EASY BUY

บมจ.อีซี่บาย จัดกิจกรรมเวิร์กชอป Umay+ MONEY FITNESS SEASON 2