งานสื่อแบบตรงปก เผยภัยออนไลน์ และยุทธศาสตร์ปล่อยของ ส่งเสริม “น้ำดี” ไล่ “น้ำเสีย”

สัมภาษณ์ ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

คนกลุ่มไหนเป็นเหยื่อออนไลน์มากที่สุด?

ภัยออนไลน์ตอนนี้ ผู้สูงอายุมาเป็นอันดับหนึ่ง  และ เคสอันดับหนึ่ง คือ ขายของไม่ตรงปก  ถูกหลอกให้ลงทุน ถูกหลอกให้รัก ฟิวส์แฟน มาแรงมากสำหรับผู้สูงอายุเกษียณอายุ แปลกว่าคนแม้แต่อายุมากไม่ค่อยขาดความรักและถูกมีคนอุปโลกขึ้นมาว่าฉันหนูเป็นแฟนลุงอะไรแบบนี้ อันนี้ก็ถูกหลอกให้รักเสียเงินเสียทองไปเยอะถูกทำให้กลัวเยอะเหมือนกันบัญชีของคุณเกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน เกี่ยวข้องกับยาเสพติดนอนไม่หลับละ กลัวมากเลยพอมันพอกลัวปุ๊บก็ขาดสติ ทำให้โลภ โอ้โหเค้ารวยกันมาเยอะแล้วเงินเดือนออกคนรวยที่ประสบความสำเร็จแล้ว อันนี้ก็มากมายมหาศาล ก็ไปหลงเชื่อทั้งๆ ที่ของฟรีไม่มีในโลก ถ้ารวยง่ายขนาดนี้เขาไม่มาบอกเราหรอกนะ เขาก็ไปทำเองแล้วก็ญาติเขาก็คงรวยกันหมดไม่ได้มาบอกคนทั่วไป แต่ว่าก็ยังมีคนจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียวที่ถูกหลอกเพราะโลภ ทำให้สงสารนี้ก็มีนะ โอ๊ย แม่วัวกำลังจะถูกเชือดอยู่แล้ว จะเข้าโรงเชือดอยู่แล้วตอนนี้ต้องการผู้ใจบุญขาดเงินอีกหมื่นเดี๋ยวมีแล้ว 30,000 โอนมาตอนนี้นะจะได้ไถ่ชีวิต โอนเพราะอะไรสงสาร อยากช่วยแม่วัว โอนไปปุ๊บ อ้าวขอดูลูกวัวหน่อย ลืม คือสงสารไม่อยากให้มันเข้าโรงเชือด แต่หายไปแล้ว นี่คือความเป็นคนดีแท้ๆ เลย ตกเป็นเหยื่อของแก๊งมิจฉาชีพเยอะแยะสารพัดรูปแบบ ก็สติเท่านั้นที่จะยับยั้งเรื่องเหล่านี้ได้ครับ

วิธีรับมือ ไม่ให้ผู้สูงอายุถูกหลอกเป็นเหยื่อ?

ลูกหลานต้องอยู่ใกล้ชิดก่อน จริงๆ อยากจะเชิญมาเข้าโครงการสูงวัยหัวใจยังเวิร์ค แต่ว่าเรารับคนได้น้อยปีหนึ่งก็ไม่กี่คน หลัก 10 ไม่ถึงหลักร้อย สูงวัยหัวใจยังเวิร์ค เราเอาคนสูงอายุแบบที่อยากจะอยู่กับบ้าน มาเรียนรู้เรื่องการใช้เครื่องมือสื่อสารครับ แล้วสอนเรื่องการ เทคนิคการทักษะการรับมือกับข้อมูลข่าวสารลวงทั้งหมดด้วยแต่สอนไปมากกว่านั้นคือสอนให้เขาทำคลิปคนที่มาสอนเป็นใคร เป็นเด็กมหาวิทยาลัยปี 4 หรือเด็กที่จบใหม่ มาเป็นบัดดี้เขา เป็นบัดเดอร์บัดดี้กัน แล้วมันทำให้เรารู้สึกว่า คนสองเจนฯ  ได้เจอกันโดยที่ไม่มีกำแพงขวางกั้น เพราะผู้สูงอายุเขาไม่ใช่พ่อแม่ที่เด็กจะต้องเกร็งเด็กก็ไม่ใช่ลูกเขาที่เขาจะพูดอะไรไม่ได้ การมาเรียนรู้เรื่องของการใช้สื่อสังคมออนไลน์เรียนรู้โลกดิจิตอล จริงๆ แล้วเป็นประโยชน์มาก ที่นี้โครงการที่เรามีข้อจำกัดตรงที่ว่าเรายังทำในสเกลเล็ก เราอยากเห็นสังคม ได้ร่วมกันทำเรื่องนี้ ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทำโครงการคล้ายๆ กับเราทำ เอาเด็กๆ นี่แหละ มา ทำงานร่วมกับผู้สูงอายุ แต่ว่าถ้าเราไม่มีโอกาสที่จะเข้าโครงการแบบนี้  แนะนำว่าทุกคน ที่เป็นสมาชิกในครอบครัวจะเป็นลูกเป็นหลาน วันนี้คือต้องสื่อสารกันทางบวกก่อน ใช้ความห่วงใย ลองดูบางทีก็เวลาเขาอยู่หน้าจอนานๆ ผู้สูงอายุที่อยู่หน้าจอนานๆ  ต้องถามเหมือนกันว่าดูอะไรสนใจอะไรต้องลองชวนคุยดู บางคนก็รู้สึกว่าเงินทองไม่ค่อยจะพอใช้มากี่ความคิดว่าเอ๊ยเห็นเค้ารวยกัน เห็นเข้าลงทุนแล้วรวย บางทีเงินไม่ได้เยอะเลย สี่ห้าพันหายแว๊บ อะไรอย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น มันมีเครื่องมือหลายๆ เครื่องมือ ที่จะช่วย ตั้งแต่คนรอบข้างหรือหลักสูตรอบรมต่างๆ แต่ที่น่ากลัวที่สุดคือคนที่ปิดตัวเองอยู่กับโลกของตัวเอง แล้วก็ไม่สื่อสารกับสมาชิกในครอบครัว อันนี้อันตรายมาก

มันไม่จำกัดอาชีพเลย ที่จะถูกหลอก บางคนเป็นหมออยู่แต่คลินิก หมอเสียเงินเป็นๆ เป็นร้อยล้าน อยู่เป็นคลี นิก ก็ทำมาหากินของฉันไม่เคยคิดว่าวันนึงจะต้องสูญเสียเงิน แล้วก็ไม่ได้โทรทัศน์นี้ก็ไม่เปิดหรือไม่ดูเขารณรงค์โครมโครม ว่าให้ระวังตกเป็นเหยื่อของแก๊งมิจฉาชีพ ตัวเองก็ไม่ดู ก็เสียท่าเพราะอะไรรู้ไหมเพราะกลัว เพราะนี่แหละก็แค่ขู่เรื่องภาษีว่า เลี่ยงภาษีมานาน เค้ารู้รายได้เยอะไง แต่เขาก็รู้ว่าสำนักงานบัญชี บางทีก็ไปออกแบบการทำบัญชีให้เสียภาษีน้อย ก็กลายเป็นว่ามันก็เข้าทางมิจฉาชีพเลย

กลุ่มเด็กกับภัยออนไลน์

 กลุ่มแด็กน่าเป็นห่วงครับ เพราะว่าอย่างที่บอกว่าสร้างโลกของตัวเองแอกโกแชมเบอร์ เชื่ออะไรเขาก็สร้างแบบนั้นมันทำให้เขาอยู่กับโลกเสมือนมากจนเกินไปแล้วก็ไม่น้อยที่ไม่ได้เปิดใจ เรียนรู้สิ่งรอบข้างรอบตัวอย่างที่ควรจะเป็นงั้นวันนี้เรามีเรื่องของ น้องๆ ที่เป็นโรคซึมเศร้าเยอะมาก น่าเป็นห่วงมาก ส่วนหนึ่งก็ไปพึ่งการเล่นเกมออนไลน์เกม จริงๆ มันมีเกมที่สร้างสรรค์เกมที่ดีที่ควรส่งเสริมให้เด็กแล้วโชว์เล็กเด็กและเยาวชนได้เล่นแต่มันมีเกมส่วน หนึ่ง ที่โยงเข้าสู่การพนัน ที่นี้โดยเคสตัวอย่างที่เราพบก็คือว่าเมื่อเด็กและเยาวชนถูกลากเข้าสู่วงจรการพนันแล้ว  มันจะถูกลากเข้าสู่เรื่องเพศ เรื่องยาเสพติด พอเรื่องเพศเรื่องยาเสพติดมีหนี้สินตามมา อาชญากรรมก็ตามมา ก็เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงน่าเป็นห่วงหมดเลยครับ

กฎหมายเด็กต่ำกว่า 16 ห้ามเล่นโซเชียล?

จริงๆ เมืองไทยจำเป็นต้องมีมาตรการทางกฎหมายควบคู่กับการรณรงค์ทางสังคมในยุโรปมี เช่นเดียวกับยุโรป ออกกฎหมายที่เรียกว่าการกำกับดูแลแพลตฟอร์มดิจิตอลเซอร์วิสปี 2022 ผมพูดหลายครั้ง จะบอกว่ากำกับแพลตฟอร์มไม่ได้  อันนี้ไม่จริง แล้วไม่ต้องพูดถึงประเทศสังคมนิยมอย่างจีนเข้ากำกับดูแลเบ็ดเสร็จเลยแอบกัดฟอร์มพันต่างชาติ เข้าไปไม่ได้เลยนะทุกอย่างจีนต้องพัฒนาเองต้องสร้างเอง ออสเตรเลียก็ออกกฎหมายควบคุมแพลตฟอร์มเหมือนกันว่าถ้าคุณปล่อยให้เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 16 ปี มีบัญชีผู้ใช้  แพลตฟอร์มต้องรับผิดชอบและค่าปรับแพงด้วย ก็คิดว่าถึงเวลาที่ ประเทศไทย จะต้องทำเรื่องนี้อย่างจริงจังเราต้องใช้มาตรการทางกฎหมายมาตรการทางสังคมและการรวบรวมการรณรงค์ทางสังคมควบคู่กัน ใช้เครื่องมือใดเครื่องมือหนึ่งยากมากครับ

กองทุนสื่อฯ ทำอะไรเพื่อแก้ปัญหาบ้าง?

ครับทำทุกวิธีการเลยตอนนี้ก็ล่าสุดที่ปล่อยคลิปไป อย่างที่บอกไซเบอร์บูทเตอร์ ลองไปดูเลย พิมพ์เข้าไปในมือถือตอนนี้ขึ้นเลย เรามีอยู่ 16 17 คลิป แล้วก็มีเรียกว่าดาวเด่นที่มีคนตามเยอะๆ อินฟลูเอนเซอร์ทั้งหลาย มาเป็นพิธีกรมาเป็นวิทยากรมาเป็นพระเอกในเรื่องคลิปสั้นๆ 90 วิ  นาทีครึ่งเท่านั้นเอง เราทำทุกเครื่องมือเลย ผลิตสื่อจัดหลักสูตรอบรมมีหลักสูตรเรียนออนไลน์สร้างเวทีไปบอก ร่วมมือกับสถาบันการศึกษา และที่เราทำก็คือว่าเรากำลังจะ สร้างผู้แทนหรือว่าครูอาสาที่จะไปสอนเรื่องรู้เท่าทันสื่อ เพราะว่าเราไม่สามารถที่จะเอาหลักสูตรรู้เท่าทันสื่อ ไปบอกกระทรวงศึกษาว่าให้เข้าไปสอนในโรงเรียนได้ เราก็ทำโครงการในลักษณะครูอาสา แล้วก็ต่อไปในอนาคตเราก็จะขึ้นทะเบียนไว้ แล้วถ้าโรงเรียนไหนอยากจะ ใช้บริการ ก็มาแจ้งกับเราก็จะสนับสนุนให้ ทางกระทรวงศึกษาธิการ อาจจะไปต้องไปตั้งงบประมาณ

กิจกรรมเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 5 ภูมิภาค TMF Media Partnership ทำอะไรบ้าง?

ไล่ไปเอาตั้งแต่ผู้เข้าร่วม กองทุน  พูดได้เลยว่าเราไปจัดเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมใน 5 ภูมิภาค ซึ่งเวทีนี้เป็นเวทีสุดท้าย ก่อนหน้านี้จัดมา 3 เวทีคือที่ร้อยเอ็ด ที่พิษณุโลก ที่จังหวัดตรัง แล้วก็วันนี้ที่เวทีภาคตะวันออกและภาคตะวันตก ควบรวมมาเป็น หนึ่ง เวที 2 ภาค หนึ่ง เวที 3 บวก 2 ก็เป็นห้าภาคพอดี ในแง่ของผู้เข้าร่วม เราประสบความสำเร็จทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ เพราะว่าเราไม่สามารถรับคนได้เยอะ ตามจำนวน ทั้งออนไซต์ออนไลน์ก็ถือว่าเกิน ส่วนกลุ่มเป้าหมาย ที่เรากำหนดคุณสมบัติ ว่าตั้งแต่ผู้รับทุนเครือข่ายทางวิชาการ เครือข่ายคนทำงานสื่อเครือข่ายคนทำงานในพื้นที่ เป็นผู้นำชุมชน ผู้นำตามธรรมชาติ หรือผู้สนใจที่อยากจะทำกิจกรรมร่วมกับกองทุนจริงๆ  ก็เข้าร่วมครบทุกกลุ่มเป้าหมาย เพราะฉะนั้น ถือว่าเบื้องต้นบรรลุเป้าหมาย

เป้าหมายมาอันดับต่อมาก็คือว่าเราต้องการที่จะเอาภารกิจของกองทุน ว่ากองทุนทำอะไรต้องการที่จะขับเคลื่อนสังคมอย่างไร ต้องการนำเสนอประเด็นอะไร อันนี้เราก็ไปเซอร์เวย์ด้วยว่าเวลาเรานำเสนอไปแล้วเช่นเราไปให้ความรู้เรื่องสื่อปลอดภัย สื่อไม่ปลอดภัย สื่อสร้างสรรค์ สื่อไม่สร้างสรรค์ เราไปลงณรงค์เรื่องการรู้เท่าทันสื่อ ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของแก๊งออนไลน์ ไม่เชื่อข่าวลวงข่าวปลอม อันนี่เรามีแบบสอบถามสำรวจมาก็ประสบความสำเร็จทั้งหมด เรามีประเด็นในการที่จะไปรับฟังความคิดเห็นว่ากองทุนจะให้ทุนหรือว่าจะรณรงค์ทำงาน เราควรจะให้ความสำคัญในประเด็นอะไร แต่ละภาคต่างๆ ก็แยกกันไป เช่น ภาคเหนือกับภาคอีสาน เน้นให้ความสำคัญกับประเด็นเชิงวัฒนธรรมเป็นอันดับหนึ่ง การท่องเที่ยวตามมา ในขณะที่ภาคใต้ ก็เน้นประเด็นเรื่องการท่องเที่ยวเป็นอันดับ หนึ่ง  ข้อมูลชัดมาก ก็ถือว่าประสบความสำเร็จ เพราะเราเอาประเด็นเหล่านี้มากำหนดเป็นประเด็นในการให้ทุนแต่ละปีเรียกว่าเป็นการให้ทุนประเภทเชิงยุทธศาสตร์

อย่างกรณีผลกระทบของสื่อเชิงลบเหมือนกัน ว่าเขาตระหนักว่าปัญหาในพื้นที่ปัญหาได้มากที่สุด ถ้าภาคเหนือกับภาคอีสานจะเป็นเรื่องของการหลอกลวงออนไลน์ ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุ โดนตกเป็นเหยื่อเยอะมาก ในขณะที่ภาคใต้ ไม่ได้เป็นอันดับหนึ่ง การหลอกลวงออนไลน์ คนใต้อาจจะเอาไว้ก่อน แต่เขากังวลเรื่องของข่าว ปลอม ครับปลอม มันอาจจะเชื่อมโยงกับเรื่องการเมืองด้วย เพราะว่าข่าวที่มันบิดเบือนอันนี้ก็อันตราย เพราะฉะนั้นก็ต้องถือว่าสิ่งที่เรานำไปเสนอและสิ่งที่เราได้รับกลับมาจากภาคีเครือข่าย มันมีประโยชน์อย่างมาก เป็นเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่ต้องเรียกว่าประสบความสำเร็จ สูงมากครับ

แผนพัฒนาสื่อน้ำดี

เราทำงานใน 2 ลักษณะ หลักๆ เลยคือ หนึ่ง เราให้ทุนทุกปีอย่างน้อยปีละ หนึ่ง ครั้ง การให้ทุนของเราก็ยังยึดแบบเดิมอยู่ก็คือแบบเดิม เรามีให้ทุนอยู่ 3 ประเภทครับ ประเภทแรก โอเพ่นแกรนด์ เราเอากลุ่มเป้าหมาย เป็นฐานในการคิดหรือเป็นกลุ่มเป้าหมาย  เป็นประเภทในการให้ทุน ซึ่งเรามีอยู่ใน 4 กลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่ว่า หนึ่ง คุณต้องทำสื่อสำหรับเด็กและเยาวชน กลุ่มเป้าหมายที่ 2 คือผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมายที่ 3 คือกลุ่มคนพิการคนด้อยโอกา สและกลุ่มเป้าหมายที่ 4 ก็คือประชาชนทั่วไป หรือประเภทไม่เข้า หนึ่ง 2 3 ก็มาอยู่ 4 แต่คุณต้องตอบว่าเวลาคุณทำสื่อ คนดูเป้าหมายปลายทางของคุณ เป็นใครเป็นเด็กเยาวชนเป็นผู้สูงอายุเป็นคนพิการหรือประชาชนทั่วไปต่อไม่ชัด

ประเภทที่ 2 ประเภทเชิงยุทธศาสตร์ คือไม่ได้เอากลุ่มเป้าหมายเป็นตัวตั้งแต่เอาประเด็นเป็นตัวตั้งประเด็นก็คือว่าคุณจะรณรงค์เรื่องของการรู้เท่าทันสื่อไหม ให้คุณทำมาเลย เป้าหมายมันจะตามมาเองตามรูปแบบของสื่อที่คุณคิดแต่ว่ามันต้องมีประเด็นนี้หรือคุณจะทำสื่อเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจที่เรียกว่าซอฟต์พาวเวอร์  แปลว่าทำสื่อแล้ว มันจะต้องเกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ เกิดการเติบโต เกิดรายได้ให้กับชุมชนอย่างนี้เป็นต้น เพราะคิดแบบนี้ปุ๊บอย่างอื่นมันก็จะตามมา ส่วนทุนประเภท 3 ที่เราให้ก็คือว่าให้กับภาคีเครือข่ายที่เรามีความร่วมมือกัน แปลว่า 2 หน่วยงานที่ร่วมมือกองทุนเรามีภารกิจที่เชื่อมโยงกันหรือคล้ายกันแล้วต้องการที่จะทำงานร่วมกันเพื่อให้มีพลังมากขึ้น แต่จริงแล้ว ในรูปแบบการให้ทุนทั้ง 3 รูปแบบ มันก็ยังไม่ตอบโจทย์ร้อยเปอร์เซ็นต์ซะทีเดียว วันนี้กองทุนกำลังจะคิดหารูปแบบในการให้ทุนที่มันมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ตอบสนองต่อกลุ่มมากเป้าหมายมากขึ้น เช่นถ้าเราไปเจอเด็กที่ทำคลิปดีๆ ทำเพลงมาเเบบสุดยอดอลังการมากฟังแล้วขนลุกเลย แล้วเผยแพร่ออกไป คนตามเป็นล้านอย่างนี้เป็นต้น  จริงๆ นะถ้าเราเปิดให้น้องเขามาขอทุนเขาอาจจะไม่ขอก็ได้เพราะเค้าดังอยู่แล้ว เราก็ต้องการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการหรือข้อบังคับในลักษณะที่อย่างงั้น เราไปให้สปอนเซอร์ได้ไหม แล้วก็มาทำเนื้อหาใน ประเด็นที่กองทุนฯ​ ต้องการ 

แนวทางที่ หนึ่ง อย่างที่พูดไปก็คือเราให้ทุน ในการส่งเสริมอันที่ 2 เวลาร้องให้ทุนไปแล้ว เราก็ดูว่าเอ๊ยมันมีบางประเด็นที่ตกหล่นอยู่ผู้รับทุนยังไม่ได้ทำเรื่องนี้กองทุนก็เอามาตั้งเป็นโครงการ เขาเรียกว่าโครงการดำเนินการเองตั้งเป็นทีโออาร์ขึ้นมาว่าจะทำอะไร หนึ่ง 2 3 4 เสร็จแล้วก็เข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งกองทุนก็เป็นหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ 2560 ล่าสุด ก็มาเติมเต็มเพื่อให้การขับเคลื่อนงานของกองทุน ตามยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ยุทธศาสตร์ มีความครบถ้วน

อิทธพลของสื่อในตอนนี้?

มากๆ เลยทุกคนอยู่กันซื้อตั้งแต่ลืมตาตื่นจนถึงนอนนอนแล้ว ยั้งมือผวามาคว้าโทรศัพท์มาดูว่ายังมีอะไรอยู่หรือเปล่า เข้าห้องน้ำยังต้องดูเลย เพราะงั้นเวลาอยู่กับเครื่องมือสื่อสารของคนไทยวันนี้เฉลี่ย 11 12 ชั่วโมงต่อคนต่อวัน ทุกกลุ่มช่วงอายุ เราใช้เครื่องมือสื่อสารในชีวิตประจำวันทุกรูปแบบ ตั้งแต่ดูนาฬิกาปลุกดูเส้นทางสั่งซื้อของออนไลน์ประชุมออนไลน์สั่งงานออนไลน์อ่านเอกสารออนไลน์ทุกอย่างหมดเลย แล้วในขณะเดียวกันก็คือว่าข้อมูลข่าวสารที่มันวิ่งมาหาเรา ในฐานะผู้เปิดรับสื่อ  มันมีทั้งข้อมูลเชิงบวกและเชิงลบ เพราะฉะนั้น ถ้ามันมีข้อมูลเชิงลบเข้ามาเยอะแล้วเราไม่กรอง ชีวิตเราพังแน่ เพราะงั้นสื่อ ต้องบอกกับทุกท่านทุกคนว่ามันมีผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ถ้าตั้งรับไม่ดี ขาดสติ รอโอกาสที่จะตกเป็นเหยื่อสูงมาก  สิ่งที่เราทำก็คือว่าเราไม่ สามารถที่จะไปยุติหรือขจัดสื่อเชิงลบให้มันหมดไปได้ แต่เราสามารถรับมือกับมันได้ อันนี้คือหัวใจเลย อันที่สอง ในพื้นที่ของโลกออนไลน์วันนี้ เป็นพื้นที่ทางประชาธิปไตย พูดง่ายๆ ทุกคนมีเสรีภาพที่จะสร้างตัวตนของตนเองในโลกออนไลน์โดยที่ คุณแค่มีเครื่องมือสื่อสารแล้วคุณก็มีอินเทอร์เน็ต คุณก็มีตัวตนในโลกออนไลน์ การมีตัวตนในโลกออนไลน์ของคุณ มันไม่มีใครสอนคุณเลยว่าคุณจะโพสต์เนื้อหาดีๆ ต้องทำยังไง คุณต้องระวังเนื้อหาที่แย่เป็นยังไง เพราะฉะนั้น เนื้อหามันถึงแบบออกมาสารพัดสารพัน และส่วนใหญ่ก็จะเนื้อหาแย่มากกว่าเนื้อหาบวกเนื้อหาดี เพราะเนื้อหาแย่ มันอาจจะขายง่ายกว่า นึกออกไหมครับ เหมือนเนื้อหาแย่มันก็เหมือนน้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ เพราะอันนี้เป็นสิ่งที่ต้องระวังว่าถ้าเราไม่มีสติ เราไม่ตั้งรับอย่างรู้เท่าทันโอกาสที่จะเสียหายเยอะเราก็พยายามบอกกับทุกคนว่าให้ระวังในการเปิดรับสื่อ สื่อวันนี้ผลกระทบมากๆ เลยเราฟังเรื่องอะไรซ้ำๆ อยู่แต่ละทุกวันทุกวันๆ  เราอินไปกับเรื่องนั้นๆ แล้วเราลืมเปิดรับข้อมูลด้านอื่น มันทำให้เราสร้างโลกเสมือนขึ้นมาโลกหนึ่ง โลกนี้มันมีแต่เฉพาะเรื่อง เพราะเราปิดกั้นเรื่องอื่นทั้งหมดเลย สร้างขอขังตัวเองเป็นคอกทางความคิด สื่อก็ทำให้เกิดมาแล้วและที่ยังน่ากลัวก็คือว่าวันนี้พ่อมาเราเข้าสู่ยุคอีกยุคเอไอ โลกเสมือนกับโลกจริง แยกแยะยากมากเลยคุณจะแยกยังไง จริงๆ ถ้าเรามีหลักธรรมสักนิด หนึ่ง มันแยกไม่ยากเลยเพราะทางพุทธ ถือว่าส่วนใหญ่ก็มันปรุงแต่งขึ้นทั้งนั้น แล้วก็เราอย่าไปเชื่ออะไรง่ายๆ เพราะว่าเดี๋ยวมันก็แปรเปลี่ยน โลกเสมือนก็เช่นเดียวกัน มันเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพราะฉะนั้นถ้ามีสติมันจะรู้ได้ครับ  

สัมภาษณ์ภายในงาน กิจกรรมเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 5 ภูมิภาค TMF Media Partnership รวมพลังสร้างสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดขึ้นโดย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นหน่วยงานจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ.2558 และมีภารกิจสำคัญในการรณรงค์ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ สามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาตนเอง พร้อมทั้งส่งเสริมการผลิตสื่อให้ปลอดภัยและสร้างสรรค์เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมต่อไป อีกทั้งยังส่งเสริมให้เกิดการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ จึงเป็นที่มาของการจัดกิจกรรมครั้งนี้ โดยมีส่งเสริมการมีส่วนร่วมประชาชนห้าภูมิภาค