ทำไมน้ำประปาถึงเค็ม??

ขอบคุณภาพจาก pixabay

ตอนนี้ เกิดปัญหาภัยแล้ง ทำให้วิกฤติการณ์ “น้ำประปาเค็ม” เกิดขึ้น สำหรับคนที่ดื่มน้ำแร่ น้ำสะอาด น้ำขวดสำเร็จ ที่ซื้อเป็นประจำอยู่แล้ว อาจไม่ต้องกังวลอะไรมาก แต่ประชากรส่วนใหญ่ ยังบริโภคน้ำประปาอยู่ ทั้งผ่านเครื่องกรองน้ำ การต้ม ฯลฯ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวไม่สามารถชะล้างความเค็มของน้ำไปได้

คำถามคือ เราต้องเผชิญภาวะนี้ต่อไปอีกนานแค่ไหน น้ำเค็มเป็นอันตรายเพียงใด สาเหตุจากอะไร แล้วตอนนี้เราควรมีแผนรับมืออย่างไร ??

ขอบคุณภาพจาก pixabay

ปัญหาน้ำประปาเค็ม

ก่อนอื่น มารับรู้ที่มาที่ไปกันก่อน เนื่องจากขณะนี้วิกฤตภัยแล้งรุนแรงกว่าปี 2558  และภาวะน้ำทะเลหนุนสูง ส่งผลหลายพื้นที่ (โดยเฉพาะใน กทม.และปริมณฑล) เจอปัญหาน้ำประปามีรสกร่อย และเค็ม การแก้ปัญหาตอนนี้ คือ  เร่งผลักดันน้ำฝั่งตะวันตกไล่น้ำเค็มรุก

โดย สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ประเมินว่า หากระดับน้ำจืดในแม่น้ำเจ้าพระยาลดลงมากกว่าเดิมแม้จะมีการปล่อยน้ำจากเขื่อนเพื่อดันน้ำเค็มแล้ว แต่ก็คาดว่ามีสถานกาณ์อาจมีความคล้ายสถานการณ์ภัยแล้งน้ำน้อยเมื่อ ปี2558 หรืออาจรุนแรงกว่า ในช่วงปี 62 ต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี น้ำในเขื่อนทั่วประเทศมีน้ำใช้การได้ทั้งประเทศประมาณ 260,000 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 45 แนวโน้มลดลงอีก  วันนี้น้ำใน 4 เขื่อนหลักที่เป็นแหล่งอุปโภคบริโภค  ถือเป็นแหล่งให้ มีน้ำน้อยเพราะฝนแล้ง อย่างเขื่อนภูมิพล มีน้ำใช้การได้ 1,803 ล้าน ลบ.ม. ,เขื่อนสิริกิติ์ น้ำใช้การได้ 2,023ล้าน ลบ.ม.,เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน น้ำใช้การได้400 ล้าน ลบ.ม., และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ น้ำใช้การได้235 ล้าน ลบ.ม. รวมแล้ว มีน้ำใช้การได้ 4,461 ล้าน ลบ.ม. ขณะที่มีจำเป็นต้องมีปริมาณน้ำ 5,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ในการรักษาระบบนิเวศและอุปโภคบริโภค ทั่วลุ่มทั้งเจ้าพระยา

แม้วันนี้การผลิตน้ำประปานครหลวงที่สถานีสูบน้ำดิบประปาสำแล ในเขตปทุมธานีที่ส่งน้ำมาให้คนกรุงเทพฯและปริมณฑลผลิตประปา จะยังมีค่าความเค็มของน้ำไม่เกินมาตรฐาน วันนี้มีค่าความเค็มเพียง 0.21 กรัม/ลิตร เพราะยังมีน้ำดันน้ำทะเลได้อยู่ก็ยังไม่เจอปัญหาน้ำประปาเค็ม ซึ่งฝั่งประปาสำแลที่ใช้น้ำเจ้าพระยาเป็นน้ำต้นทุน ถูกนำบางส่วนมาใช้เพื่อการเกษตรต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้ยังไม่ส่งผลกระทบแต่ในอนาคตอาจส่งผลกระทบ เพราะหากน้ำเค็มขึ้นมาถึงจุดสูบที่สถานีสูบน้ำดิบประปาสำแล ในเขตจังหวัดปทุมธานี แล้วหากน้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยาเกิน 0.5 กรัม/ลิตร จะมีผลทำให้มีค่าคลอไรด์สูงมากกว่า 250 มิลิกรัมต่อลิตร ซึ่งจุดนี้จะเกิดน้ำประปากร่อยได้

ขอบคุณภาพจาก pixabay

อาจต้องเผชิญปัญหานี้ไปถึงหน้าฝน ระหว่างนี้สามารถตรวจสอบคุณภาพน้ำประปาแบบ เรียลไทม์ ได้ที่ http://twqonline.mwa.co.th

ขอบคุณภาพจาก pixabay

กรมอนามัย ชี้แจง เค็มแบบนี้ ยังไม่เป็นอันตราย 

ข้อมูลจาก กรมอนามัย ชี้ในช่วงน้ำทะเลหนุนเสี่ยงน้ำประปาเค็ม อาจทำให้น้ำมีรสกร่อย แนะชาวบ้านอย่าตื่นตระหนกไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ส่วนผู้ป่วยโรคไตที่รับบริการฟอกไตที่โรงพยาบาล ไม่ต้องกังวล ชี้น้ำประปาเค็มจากผลกระทบน้ำภัยแล้งลากยาว ถึง พ.ค.นี้

ทั้งนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดค่าแนะนำเพื่อความน่าดื่มและการยอมรับของผู้บริโภคไว้คือในน้ำประปา ควรมีโซเดียมไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อลิตร และคลอไรด์ไม่เกิน 250 มิลลิกรัมต่อลิตร แต่ถ้าเจือปนในน้ำมากเกินไปจะทำให้น้ำมีรสกร่อยถึงเค็มได้ ซึ่งทางโภชนาการและการแพทย์แนะนำว่า มนุษย์ควรรับโซเดียมเข้าสู่ร่างกายไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ปัญหาน้ำเค็มขณะนี้จึงไม่ส่งผลต่อสุขภาพ

ขอบคุณภาพจาก pixabay

การแก้ปัญหา หากไม่ชอบน้ำเค็ม

  1. หลีกเลี่ยงการใช้น้ำในพื้นที่ที่เกิดปัญหา (กรุงเทพฯ และปริมณฑล)
  2. ซื้อน้ำขวดดื่ม หรือ สั่งน้ำเป็นแกรอนใหญ่ๆ จากบริษัทฯ ที่ผลิตน้ำโดยตรง / ทั้งนี้หลายค่ายอาจใช้น้ำประปาเหมือนกัน / ช่วงหลังอาจจะเค็มถึงกร่อยได้ / แนะนำตุนตั้งแต่ช่วงนี้ ยังได้น้ำที่มีค่าเดิมเมื่อปีก่อน ซึ่งไม่เค็มเท่านี้แน่
  3. เต็มค่าความเป็นด่างลงไป เพื่อไม่ให้สัมผัสรสเพรียวๆ แถมยังเป็นประโยชน์อีกด้วย เช่น ฝานเปลือกมะนาว, เติมมะนาว, ส้ม หรือใบโหระพา สาระแน ของไทยผสมลงไปในน้ำ เพื่อลดทอน (ทั้งนี้ส่งผลต่อความรู้สึกเฉยๆ ความเค็มยังเท่าเดิม)
  4. ใครมีทางแก้ปัญหามากกว่านี้ แนะนำเป็นวิทยาทานด้วยค่ะ