กลไกสร้างจิตสำนึกผ่านเรื่องราวที่เรียกว่า …. สารคดี คุยกับคนทำสารคดีที่ดีที่สุด คนหนึ่งของเมืองไทย

หลายครั้งที่มีปัญหาเกิดขึ้นกับสังคมไทยแล้ว

เรากลับมามองที่การสร้างจิตสำนึก

และสุดท้ายคำตอบของการสร้างจิตสำนึก

มักเริ่มต้นด้วย “สารคดี”  คำถามต่อไปคือ “สารคดี” คือทางออกที่จะช่วยปลุกจิตสำนึกได้จริงหรือไม่? ด้วยวิธีการอย่างไร?

“เชื่อว่าธรรมชาติของคน มีสามัญสำนึกอยู่ในตัว เพียงแต่สิ่งที่เรายังขาด คือ  ความรู้ความเข้าใจในหลายสิ่งหลายอย่าง” คำพูดน้อย แต่มาก ท่าทีที่เบา แต่ก็แรง ของชายหนุ่มคนหนึ่งที่สร้างความสั่นสะเทือนได้ไม่น้อยในเวลาอันสั้น

ใช่แล้วค่ะ เขาคือ สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ  ประธาน บ.ทีวีบูรพา จำกัด หน่วยงานสายแข็งผู้อยู่เบื้องหลังสารคดีหลายเรื่อง ที่สร้างความสะเทือนใจให้กับเหล่าผู้เสพ ล่าสุดเราได้เจอกับพี่เขาในงาน ‘วันทะเลโลก ประจำปี 2561’ โดย กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) จัดขึ้น เพื่อปลุกกระแสสังคม และเปิดตัวสารคดี “Clean Our Ocean ทะเลดี ชีวีมีสุข”  เพื่อสร้างความตระหนักในการลดใช้ขยะพลาสติก ซึ่งก็ให้เกิดขยะที่กำจัดยาก จนถึงกำจัดไม่ได้

นี่เป็นส่วนหนึ่งของภาพยนตร์สั้นเชิงสารคดี   Clean Our Ocean  ทะเลดี ชีวีมีสุข ”  ได้รับความสนใจมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน อาทิ นักวิชาการ, ช่างภาพสารคดี, ตัวแทนชุมชน และผู้เกี่ยวข้องจากทุกฝ่าย มาร่วมรับชมในรอบปฐมฤกษ์  และเตรียมจัดฉายต่อไปในสื่อต่างๆ และเว็บไซด์  www.dmcr.go.th

พี่เช็ค สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ ประธานบริษัท ทีวีบูรพา จำกัด  ในฐานะผู้จัดทำสารคดีชุดดังกล่าว เผยว่า  “ ข้อมูลปัญหาขยะทะเล ได้ถูกรวบรวมจากที่ต่างๆ ซึ่งไม่ใช่แค่ประเทศไทยเท่านั้นแต่เป็นกันทั่วโลก ทำให้เราเห็นภาพรวมสถานการณ์ปัญหาขยะในทะเลที่ร้ายแรง และส่งผลกระทบหลายด้าน และถ้าพวกเรายังปล่อยให้เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ อนาคตก็จะยิ่งน่าเป็นห่วง”

“สารคดีชุดดังกล่าว ทำให้เราได้ย้อนมองตัวเองว่า สิ่งที่เราคิดว่าไม่ได้มีส่วนร่วม เราเป็นผู้บริสุทธิ์นั้น แท้ที่จริงแล้วเราไม่รู้หรอกว่าเป็นฆาตกรโดยไม่ได้ตั้งใจหรือเจตนา เนื้อหาเกือบ 1 ชั่วโมงของสารคดี มีการเชื่อมโยงให้เห็นภาพตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง จะพบเลยว่าแท้ที่จริงแล้วเราทุกคนที่ใช้ชีวิตอยู่ โดยไม่ตระหนักถึงการใช้ถุงพลาสติกนี่แหล่ะ ต่างเป็นต้นเหตุทำให้ปัญหานี้เกิดขึ้นด้วยกันทั้งนั้น  ถึงเวลาแล้วที่เราจะตั้งคำถามกับตัวเองว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยแก้ไขปัญหานี้อย่างไร?  ขณะเดียวกันการขยับเคลื่อนที่นโยบายของภาครัฐ ภายใต้การจับตามองของประชาคมโลก ก็จะทำให้เราได้เห็นแนวทาง มาตรการ และทำให้เราต้องเตรียมตัว”

หลายครั้งที่มีปัญหาเกิดขึ้นกับสังคมไทยแล้ว เรากลับมามองที่การสร้างจิตสำนึก คำถามคือ “สารคดี” คือทางออกที่จะช่วยปลุกจิตสำนึกได้อย่างไร?  เชื่อว่าธรรมชาติของคน มีสามัญสำนึกอยู่ในตัว เพียงแต่สิ่งที่เรายังขาด คือ  ความรู้ความเข้าใจในหลายสิ่งหลายอย่าง เพราะด้วยความที่เราไม่รู้ ทำให้เข้าใจผิดหรือรู้ผิดๆ  อย่างเรื่องขยะในทะเลนี้ คนทั่วไปมักเห็นว่าไม่ร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากไม่ใช่คนที่สนใจศึกษาค้นคว้า น้อยคนที่จะใช้การเรียนรู้ของตัวเองเพื่อศึกษา ว่าปัญหาร้ายแรงนี้จะส่งผลกระทบและอะไรที่อาจเกิดขึ้นเป็นปัญหาใหญ่โตในภายหลังบ้าง แต่ถามว่าคนเราสงสารสัตว์ทะเลหรือไม่  หรือเป็นห่วงตัวเองที่บริโภคสัตว์ทะเลที่มีนาโนพลาสติกหรือไม่ ฯลฯ ทุกคนมีความเป็นห่วงแต่ก็ไม่รู้ว่าตัวเองจะต้องทำอย่างไร

ดังนั้นสื่อประเภทสารคดีจึงมีความสำคัญ เป็นการรวบรวมข้อมูลมาให้ผู้ชมได้เห็นภาพตั้งแต่ตัวปฐมบทไปจนถึงผลกระทบในปัจจุบัน  พอประชาชนดูสื่อแล้วเกิดการเชื่อมโยง สะเทือนใจ ก่อให้เกิดพลังที่ทำหน้าที่ส่งต่อความรู้สึกไปในทิศทางเดียวกัน   ผมเชื่อว่าธรรมชาติของคนที่รับรู้อย่างนี้ ต้องกลับมาทำอะไรสักอย่าง  และไม่ได้กลับมาเงียบๆ ด้วย กลับมาเล่า  ออกมารณรงค์ต่อต้าน  อย่างเรื่องพลาสติกก็เห็นแล้วตอนนี้ หลายหน่วยงานเริ่มจะขยับ ผู้คนออกมาเผยแพร่ เหมือนแผ่นดินไหว พลวัตจากพลังที่เกิดจากตรงนี้จะกระเพื่อมออกไป แต่สิ่งสำคัญคือว่า เราไม่ได้ทำครั้งเดียวแล้วเงียบหายไป แต่การรับลูกจากตรงนี้ คือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง

แต่ทั้งนี้ ส่วนตัวผมคิดว่าจะใช้สื่ออย่างเดียวไม่ได้ ยกตัวอย่างมือคนเรามีห้านิ้วถึงจะจับอะไรได้สะดวก ถ้าเปรียบสื่อเหมือนนิ้วก้อย ให้นิ้วก้อยทำงานนิ้วเดียว อีกสี่นิ้วไม่ทำงานก็ไม่เกิดผล สื่อที่หน้าที่สื่อสารความรู้ สร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นจิตสำนึก แต่ก็มีคนมองว่ารณรงค์กันไปเถอะ กี่ทีก็เหมือนเดิม แต่ผมอยากให้มองว่า ถ้าอยากได้ผล ต้องทำให้เกิดความเคยชิน ต้องทำเป็นประจำ ต้องฝึก ต้องสอน กว่าจะกลายเป็นกิจวัตร ต้องสร้างระเบียบวินัย ให้ความรู้ มีมาตรการกฎหมายออกมาบังคับ เราต้องใช้สื่อเข้าไปคู่ขนานกับมาตรการต่างๆ และทำสม่ำเสมอ นำความรู้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเข้ามาช่วย

ดังนั้นสื่อประเภทสารคดีจึงมีความสำคัญ เป็นการรวบรวมข้อมูลมาให้ผู้ชมได้เห็นภาพตั้งแต่ตัวปฐมบทไปจนถึงผลกระทบในปัจจุบัน  พอประชาชนดูสื่อแล้วเกิดการเชื่อมโยง สะเทือนใจ ก่อให้เกิดพลังที่ทำหน้าที่ส่งต่อความรู้สึกไปในทิศทางเดียวกัน   ผมเชื่อว่าธรรมชาติของคนที่รับรู้อย่างนี้ ต้องกลับมาทำอะไรสักอย่าง  และไม่ได้กลับมาเงียบๆ ด้วย กลับมาเล่า  ออกมารณรงค์ต่อต้าน  อย่างเรื่องพลาสติกก็เห็นแล้วตอนนี้ หลายหน่วยงานเริ่มจะขยับ ผู้คนออกมาเผยแพร่ เหมือนแผ่นดินไหว พลวัตจากพลังที่เกิดจากตรงนี้จะกระเพื่อมออกไป แต่สิ่งสำคัญคือว่า เราต้องไม่ได้ทำแค่ครั้งเดียวแล้วเงียบหายไป แต่การรับลูกจากตรงนี้แหละ คือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง”