แชมป์ ICDL Asia Digital Challenge 2018 แข่งขันทักษะความรู้ดิจิทัลระดับเอเชีย (มีเด็กไทยด้วย)

 

เสร็จสิ้นไปสดๆ ร้อนๆ กับการแข่งชันรายการใหญ่ช   ICDL Asia Digital Challenge 2018 (การแข่งขันทักษะความรู้ดิจิทัล Digital Literacy ระดับเอเชีย) ที่เชิญเยาวชนผู้ชนะเลิศในแต่ละประเทศมาร่วมชิงชัยรวม 10 ประเทศในเอเชีย  ทั้งจาก ภูฏาน, จีน, ฟิลิปปิน, มาเลเซีย, ไทย, เกาหลีใต้, ศรีลังกา, เวียดนาม, สิงคโปร์, อินเดีย รวมถึงผู้ชนะเลิศในประเทศไทยมาแข่งขันทักษะความรู้ด้านดิจิทัลโดย The International Computer Driving License (ICDL) ผู้นำเรื่องการประเมินระดับความรู้ความสามารถด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลระดับโลก  จัดขึ้น

Mr. Damien O’Sullivan ซีอีโอ ICDL Foundation กล่าวถึงเทรนด์ไอทีใหม่ๆ สำหรับการทำงานและการศึกษาทั่วโลกว่า ปัจจุบันบริษัทต่างๆ มองหาคนทำงานที่มีทักษะด้านความรู้ (hard skills) และทักษะด้านอารมณ์ (soft skills) เป็นเลิศ นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงความสามารถของนักเรียนในทวีปเอเชียในการแข่งขัน ICDL Asia Digital Challenge ที่หวังจะเฟ้นหานักเรียนที่มีทักษะด้านไอทีและดิจิทัลที่ดีที่สุดในเอเชีย ซึ่งมีนักเรียนกว่า 7,300 คนจาก 300 โรงเรียนใน 10 ประเทศทั่วเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นภูฏาน จีน อินเดีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์ เกาหลีใต้     ศรีลังกา ไทย และเวียดนาม เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ ซึ่งในปีนี้การแข่งขันถูกแบ่งเป็น 2 ระดับสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 25 ปีและนักเรียนมัธยมที่มีอายุระหว่าง 13-17 ปี

น.ส.ซัลซาบิล่า อะมาเลีย รัสแตม ชาวอินโดนีเซีย แต่เป็นตัวแทนจาก PSB Academy ประเทศสิงคโปร์ ผู้ชนะในระดับอุดมศึกษา รวมถึงได้คะแนนสูงสุดจากผู้เข้าแข่งขันทั้งหมดเผยว่า“เทคโนโลยีทุกวันนี้สำคัญ มีอยู่ในทุกมิติในโลกนี้ สังคมทุกวันนี้ต้องมีเข้ามาเกี่ยวข้องจึงสนใจทางด้านนี้  ด้านแรงบันดาลใจในการฝึกฝนสกิลดิจทัล  มีไอดอล ในการทำงานคือ  คุณพ่อ ซึ่งทำงานในวงการไอที เป็นคนแนะนำเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยีไอทีให้กับหนูแต่เด็ก จึงเหมือนกับถูกปลูกฝังมาและอยากเรียนมาทางด้านนี้  ถามว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร ตอนนี้ที่มองไว้คืทอ วิศวกรระบบ ค่ะเนื่องจากทำให้เราสามารถคิด แก้ปัญหา และมีความท้าทายในการวิเคราะห์ แก้ไข และวางโครงสร้างสำหรับระบบต่างๆ ได้”

ความสำคัญของดิจิทัล สกิล ??  “จริงๆ แล้วการที่มีความรู้ด้านไอที ไม่จำเป็นต้องทำงานทางด้านนี้อย่างเดียว แต่เอาความรู้ด้านไอทีมาทำงานสายอื่นได้ ประยุกต์ได้ เพราะไอทีแทรกซึมไปในงานทุกระบบอยู่แล้ว จึงเป็นความสำคัญและจำเป็นอย่างมาก ยิ่งต่อไป คาดการณ์กันว่าจะเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลเต็ม  ไอทีจึงป็นทักษะที่สำคัญ ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่เยาวชนคนรุ่นใหม่ต่อจากนี้ ต้องตระหนัก เตรียมตัว ไม่ว่าคุณจะทำงานในสาขาไหนก็ตาม สำหรับการเตรียมตัวนั้น หนูไม่ได้มีเคล็ดลับอะไร การชนะในครั้งนี้ ถ้าจะยกประโยชน์ต้องงให้กับ  การฝึกฝน  ยิ่งฝึกมากเท่าไหร่ยิ่งเชี่ยวขาญ  เพราะทักษะไม่ได้มากจากอ่านตำราอย่างเดียว ต้องฝึกฝนและลงมือปฏิบัติบ่อยๆ ด้วยค่ะ”

  ด.ช.ปณชัย อมรกิจวณิชย์  นักเรียนชั้น ม.3 จากโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ แชมป์ระดับมัธยมศึกษา เผยว่า “คำว่าเศรษฐกิจดิจิทัล ถามผมตอนนี้ ผมอาจมองเป็นเรื่องไกลตัว แต่ทักษะความสามารถด้านดิจิทัลและภาษาอังกฤษเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างมากอยู่แล้วในปัจจุบัน อนาคตระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหลายก็ยังจะพัฒนาต่อไปอีก ถ้าเราไม่เริ่มวันนี้ก็เท่ากับไม่มีพื้นฐาน พอระบบพัฒนาไปไกลยิ่งขึ้นเราก็ยิ่งจะตามไม่ทัน จึงต้องฝึกฝนกันตั้งแต่วันนี้”

“วิธีการฝึกฝน ส่วนมากผมจะได้จากเกมต่างๆ มากกว่า เพราะเป็นคนค่อนข้างติดเกม ชอบเล่นเกม ซึ่งเกมส่วนใหญ่ก็เล่นในคอมพิวเตอร์ ทำให้เรามีความชำนาญในการสั่งงาน หรือเล่นโปรแกรมต่างๆ โดยอัตโนมัติ ถามผม ผมว่าเกมมีส่วนมาก และคำสั่งหรือเมนูส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ ทำให้เราได้ศัพท์ ซึ่งอ่านทุกวันก็จะมีความคุ้นเคยและแปล จับรูปประโยคได้ ผมว่าเป็นข้อดี แต่ทีนี้ การเล่นเกมก็ต้องประกอบด้วยวินัย ถ้าเล่นเพื่อสนุก ไม่อ่านหนังสือ ไม่ทบทวนเรื่องอื่นๆ ก็จะทำให้เราทำข้อสอบไม่ได้ เกรดไม่ดี แต่ผมจะค่อนข้างแบ่งเวลา ในแต่ละวันมีทบทวนทำการบ้าน เล่นเกมคือผ่อนคลายหลังจากอ่านหนังสือครับ”

“การแข่งขันสำหรับผม ไม่ถึงกับยากนะ เขาจะมีคำสั่งแล้วให้เราทำตาม เราทำให้ตรงกับที่ระบบสั่งให้มากที่สุด และท้ายๆ ถ้าทำได้เหมือนกันหมดก็จะใช้เวลาเป็นตัวตัดสิน ซึ่งผมมองว่าหลักๆ ที่ชนะครั้งนี้ได้เป็นเรื่องของความชำนาญมากกว่าครับ อนาคตถามว่าอยากเป็นอะไร ตอนนี้ผมยังเรียนแค่ม.3 จึงไม่ได้มองอะไรมาก นอกจากอยากเป็นโปรแกรมเมอร์ คอยคิดเกมอะไรใหม่ๆ ออกมา เหมือนกับว่าโตขึ้นเราก็อยากทำเกมให้คนอื่นเล่น หลังจากที่เล่นเกมคนอื่นมาตลอดแล้ว”

ท้ายสุดผู้จัดงานกล่าวว่า  “ICDL Asia หวังว่าการแข่งขันระดับภูมิภาคนี้จะช่วยเสริมสร้างความตระหนักด้านการพัฒนาทักษะและความสามารถในเชิงดิจิทัลให้แก่นักเรียนของเราเพื่อให้มีมาตรฐานสากล กิจกรรมดังกล่าวยังมีจุดประสงค์ที่จะเพิ่มความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ต่อผู้ที่มีส่วนได้เสียต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับคนทำงานของเราในยุคต่อต่อไป ทั้งนี้ มาตรฐานของ ICDL สามารถชี้ให้เห็นถึงระดับทักษะและความสามารถด้านดิจิทัลรายบุคคลได้ พร้อมกับการให้คำแนะนำเกี่ยวกับทักษะที่บุคคลนั้นๆ ยังขาดหรือจำเป็นต้องมีเพิ่มเติม” Damien O’Sullivan  ซีอีโอ ICDL Foundation กล่าว