งบห้าแสนล้านพัฒนาการศึกษาไทย ไม่ขาดแคลนครู แต่ขาดแคลนกระจายครู

เกี่ยวกับประเด็น “โลกเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  ระบบการศึกษาท้องถิ่น ปรับตัวรับมืออย่างไร ??? ” ที่บุคลากรในแวดวงการศึกษากำลังสงสัยนั้น  ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย  นักวิชาการได้แสดงทัศนะไว้อย่างน่าสนใจ การศึกษาระดับท้องถิ่นจะเตรียมรับมืออย่างไร ผมคิดว่าความท้าทายระบบการศึกษาไทย เราอาจเห็นใน World in Forum เคยพูดแล้ว การจัดการการศึกษาท้องถิ่น ผมมีความเชื่อพื้นฐานว่า ผมคิดว่าระบบการศึกษาไทยไม่ได้ขาดงบประมาณ งบประมาณการศึกษาไทย ปี 61 ได้งบประมาณจากรัฐบาลราว 5 แสนกว่าล้านบาท เมื่อเทียบกับสัดส่วนจีดีพีที่ 4.8 สูงกว่าญี่ปุ่นและสิงคโปร์ ดังนั้นขาดงบประมาณไม่ใช่คำตอบ  แต่เราขาดครูจริงไหม แต่ผมคิดว่าเราขาดการกระจายครู สัดส่วน 74 เปอร์เซ็นต์ ของระบบการศึกษาคือเลเบอร์ อินเทนซีฟ คือต้องใช้ครู ปัญหาเรื่องดิจิตอล เราใช้เอไอซึ่งขาดความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะเก่งอย่างไร แต่เอไอไม่สามรถตอบได้ว่า ควรหรือไม่ควรทำอะไร หรือรู้กาลเทศะได้ ครูจึงต้องจัดบทบาทใหม่ ครูจะต้องปรับวิธีการใหม่ เพราะการขาดแคลนครูก็ไม่ใช่ปัญหา ครูต้องปรับบทบาทใหม่ และเราคิดว่า การจัดระบบการศึกษาเป็นภาระที่หนัก ซึ่งไม่ใช่ ข้อจำกัด

อีกเหตุผลหนึ่งคือ วันนี้การบริหารการศึกษาของเราติดอยู่ในกับดักเชิงโครงสร้าง การศึกษาระบบท้องถิ่นไม่ควรเดินตามข้อสังเกต เรามีสายระบบความสัมพันธ์ที่ยาวเกินขีดความสามารถของครู ต้องรายงานผลการศึกษา การจัดการศึกษาต้องส่งเสริมทั้งคนเก่งและคนไม่เก่ง เราควรต้องทำสายความรับผิดชอบให้สั้นเรา เราต้องทำให้ผู้ปกครองเป็นหุ้นส่วน ต้องช่วยกัน ผมคิดว่าเราอยากเห็นการศึกษา ต้องรับผิดชอบร่วมกันระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครองด้วย

เราติดกับดักอยู่กับกรอบกฎหมายที่ ต้องทำนู้นนี่ไม่ได้ และมีมาตรฐานที่มาก ท้องถิ่นต้องกลับไปคิดใหม่ การศึกษาคำตอบอยู่ที่โรงเรียน โรงเรียนสำคัญที่จะทำให้การศึกษาประสบความสำเร็จหรือไม่ ระบบอื่นที่เป็นภาระ เช่น ทำรายงาน งัดผลจากความสำเร็จของโรงเรียน คุณภาพการศึกษาไทยจะวัดผลจากอะไร วัดที่ความเก่ง ดี หรือใช้ชีวิตรอด โจทย์การศึกษาไม่ใช่วัดแค่เด็กเก่ง เราต้องคิดเกณฑ์ประเมินแข่งกับตัวเอง คิดพัฒนาตัวเอง สร้างตัวชี้วัดที่เป็นเป้าหมายของชุมชน ท้องถิ่นสร้างอัตลักษณ์ให้เด็กในท้องถิ่น เด็กในชุมชนร้อยเอ็ดตกลงแล้วช่วยกันทำ นั่นคือหน้าที่ของครู เป้าหมายของการศึกษาท้องถิ่น 2 อย่าง คือ การศึกษาเพื่อความเสมอภาค และลดความเลื่อมล้ำ อย่ามองคนอื่น โรงเรียนในระดับท้องถิ่นคือ โรงเรียนที่รับเด็กทุกคนในท้องถิ่น หน้าที่ครูคือทำให้เด็กดีขึ้น ไม่ว่าเด็กจะมาจากไหน ฉะนั้นอย่าคาดหวังและอย่าเปรียบเทียบ แต่ควรเปรียบเทียบจากสิ่งที่เรามี เพื่อลดความเลื่อมล้ำ ไม่เลือกรับเด็ก ซึ่งการศึกษาระดับท้องถิ่นเลือกรับเด็กไม่ได้ เราต้องทำให้เด็กมีมาตรฐานที่ดี แล้วค่อยขยับการพัฒนาไป คุณภาพต้องทำให้คุณภาพของคนดีขึ้น

ดังนั้นสิ่งที่การศึกษาระดับท้องถิ่นควรทำคือ

  1.  การศึกษาระดับท้องถิ่นควรจัดการศึกษาเพราะมีต้นทุนที่ดีแล้ว ท้องถิ่นมีความรับผิดชอบทางสังคม ต้องทำให้ดี
  2.  องค์กรท้องถิ่น มีความยืดหยุ่นและมีความเป็นเอกภาพ หัวใจสำคัญคือ มีอิสระที่คิดออกแบบ จัดการเรียนการสอน การค้นหาเด็กในโรงเรียนนั้น หัวใจสำคัญต้องมีเลนส์ที่ละเอียด จุดค้นหาที่เป็นข้ออ่อนของเด็ก เช่น ต้องหาเด็กพิเศษให้พบให้เร็ว เพื่อการรีบพัฒนา  คือองค์กรท้องถิ่นสามารถเชื่อมโยงการศึกษาไปให้ได้ ต้องจัดการเรียนการสอนให้เด็กสามารถใช้ชีวิตให้รอด หลักคิดคือเอาปัญหาของชุมชนเป็นฐานและให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการใช้ชีวิตจริง ๆ
  3. เราต้องขยายความคิดปรัชญา“เอ็ดดูเคชั่น ฟอร์ ออล” คือ ไม่ใช่การศึกษาเฉพาะนักเรียน แต่เพื่อทุกคน นั่นคือการศึกษานอกโรงเรียนตามอัธยาศัย นำไปสู่อาชีพ ท้องถิ่นควรรทำเรื่องการศึกษานอกโรงเรียน หรือ กศน. เพื่อทำให้คนเกิดความรู้อยู่ตลอดเวลา กิจการทุกอย่างที่ต้องทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ถ้าเราเข้าใจปรัชญานี้ก็จะดีมาก
  4. การศึกษาท้องถิ่น ช่วยลดความเลื่อมล้ำของคนได้ วันนี้ท้องถิ่นได้ลดปัญหาความเลื่อมล่ำในสังคมมากมาย เช่น เด็กมาจากครอบครัวยากจนแค่ไหนก็ต้องได้เรียนขั้นพื้นฐาน หรือแม้แต่เด็กต่างด้าวก็ยังได้มาเรียน ต้องบริหารจัดการให้ได้  ผมคิดว่าองค์กรท้องถิ่นควรช่วยกันกำหนดเป้าหมายร่วมกัน  ต้องใช้โรงเรียนเป็น “คอมมูนิตี้ เซ็นเตอร์” เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน โรงเรียนท้องถิ่นต้องไม่มีรั้วของวัฒนธรรม อย่าง สพฐ.วันหยุดยาวคือไปเที่ยว แต่ครูท้องถิ่นคือวันหยุดคือการทำงานที่หนักที่สุด คนญี่ปุ่นทำ 7 ข้อ นอนเร็วตื่นเร็ว กินช้าวเช้าทุกวัน มีการพูดคุยกันในครอบครัว เด็ก ๆ ต้องทำการบ้านด้วยตัวเอง โรงเรียนและพ่อแม่จะสอนว่า เด็ก ๆ ตอนเช้ามีหน้าที่ทำอะไร กำหนดให้เด็ก ๆ ดูทีวีเล่นเกมส์ให้เป็นเวลา ช่วยกันตัดสินใจร่วมกันระหว่างผู้ปกครองกับโรงเรียน เพราะผู้ปกครองคือหุ้นส่วนของการจัดระบบการศึกษา ถ้าทำได้ระบบการศึกษาระดับท้องถิ่นจึงจะไปได้ไกล

สำหรับแนวคิดการพัฒนาความเป็นครูและนักเรียน คิดว่า

  1. ในอนาคตชุมชนต้องรับผิดชอบต่อสถานศึกษาและสถานศึกษาต้องพึ่งชุมชน ตัวอย่างคนฟิลิปปินส์ชอบเรียนรู้มาก เขาบอกว่าการเรียนรู้ทำให้เขาพร้อมจะเปลี่ยนงาน ผู้เรียนในอนาคตของไทยจึงต้องมีทักษะที่หลากหลาย ไม่ว่าเราจะอยู่สังกัดไหนก็ตาม สถานศึกษาต้องสร้างเด็กที่พร้อมที่จะเปลี่ยนงาน เปลี่ยนอนาคตเขาด้วยตัวเองได้ เด็กต้องมีทักษะหลากหลายด้าน เด็กควรทำงานในสิ่งที่ไมได้เรียนมาก็ได้ มีทักษะการคิด คิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ได้ พัฒนาให้ผ่านกระบวนการบางอย่างทำให้เขาคิดสร้างสรรค์ได้
  2. คือ ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ไทย รู้ภาษาที่สามารถทำการค้ากับจีนก็ได้ ทักษะด้านภาษาทำให้เขาพร้อมเปลี่ยนงานใหม่ ถ้าแรงงานเราไม่สามารถสื่อสารภาษาที่สองได้ เราจะไปไม่ได้ไกล
  3.  ทักษะทางเทคโนโลยี อาชีพอาจารย์ที่ความมั่นคงต่ำสุดคือ อ.ในมหาวิทยาลัย แต่ครูอนุบาลไม่มีทางตกงานเพราะเด็กต้องสื่อสารและต้องเรียนรู้ผ่านคนก็คือคุณครู แต่เด็กมหาวิทยาลัยเขาสามารถเรียนรู้ผ่านโลกโซเชียลได้เอง
  4. ทักษะการเรียนรู้ เด็กสามารถเรียนรู้ผ่านคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ตได้ไม่จำกัด ครูต้องพิจารณาต้วเองว่าทำไมเด็กไม่เรียนรู้ในห้องเรียน แต่เวลาเรียนชอบเล่นไลน์กับเฟสบุค  อนาคตทักษะนี้จะทำให้เด็กเรียนรู้อะไรก็ได้ที่เขาสนใจ เพราะเขามีสกิลอยู่ในตัวเอง เราต้องคิดว่า เด็กจะทำอะไรได้บ้างกับสิ่งที่เขาเรียน เรียนแล้วเอาทักษะนี้ไปใช้อะไรได้บ้างในชีวิต
  5.  ทักษะการทำงานเป็นทีม สังเกตกีฬาที่ไทยเป็นแชมป์โลกได้ล้วนเป็นกีฬาที่เด็กคนเดียว เช่น มวย ยกน้ำหนัก หรือ กีฬาอะไรก็ตามที่คนไทยไม่เสียเปรียบด้านรูปร่างมีสิทธิ์เป็นแชมป์ได้หมด เราจึงไม่ควรทำให้เด็กเสียโอกาส เด็กต้องคิดวิเคราะห์ได้ว่าตัวเองชื่นชอบอะไร แล้วครูและผู้ปกครองส่งเสริมผลักดันให้เด็กมุ่งไปทางนั้น
  6.  ทักษะภาวะผู้นำ เด็กต้องกล้าแสดงความคิด กล้าบอกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร ถ้าเราสร้างเด็กให้มีทักษะหลากหลายได้  ไม่ว่าจะกี่ยุค ไม่ว่าทักษะการคิด เชิงสร้างสรรค์
  7. ทักษะการแก้ไขปัญหาและตัดสินใจ ต้องคิดวิเคราะห์อันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับตนได้หากทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เห็นคนจมน้ำ แล้วตัวเองว่ายน้ำได้ก็อยากไปช่วย แต่ไม่ได้พินิจพิเคาราะห์ได้ว่า มีพายุกำลังเข้า อากาศแปรปรวน ควรลงไปช่วยหรือใช้วิธีไหนดี เด็กๆ ต้องคิดวิเคราะห์ได้
  8.   ทักษะมนุษย์สัมพันธ์ ในครอบครัวต้องพูดคุยกัน อย่าสนใจโซเชียลมากนัก เวลาเกิดไฟไหม้มีการติดป้ายว่า เมื่อไฟไหม้อย่ามัวถ่ายรูป 9 ทักษะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง คนไทยอย่าเชื่อง่าย อย่าแชร์อย่างไม่มีเหตุผลลิงค์วิดีโองานเสวนา

https://www.youtube.com/watch?v=EV6IXW_Yrq4