“วัดภูตะเภาทอง” แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมะแห่งใหม่ อันซีนทางศาสนา แหล่งอารยธรรม 2,500 ปี

วัดภูตะเภาทอง อุดรธานี เพิ่งเปิดให้ชมได้ราว 3 ปีที่ผ่านมาจึงค่อนข้างมีความอุดมสมบูรณ์ มีต้นตะเคียนสูงถึง 7 เมตร และภาพเขียนฝาผนังต่าง ๆ ยังค่อนข้างมีความสมบูรณ์อยู่มาก วัดภูตะเภาทองตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน บ้านหนองแวงศรีชมพู ต.กุดหมากไฟ มีพื้นที่วัดราว 15 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นลานหิน มีความโดดเด่นตรงหินขนาดใหญ่มากกว่า 30 ลูก รูปร่างแปลกตาตั้งเรียงอยู่ โดยทางวัดได้พัฒนาทางเดิน รวมถึงทางขึ้นหินแต่ละก้อน เชื่อมโยงกันด้วยบันไดไม้ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ขึ้นไปร่วมชมความงามของผืนป่า และไม้ป่านานาพันธ์ที่เกิดบนภูเขาหินอย่างเหลือเชื่อ

นายพวง เทพมณี ผู้ใหญ่บ้านหนองแวงศรีชมภู เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีพระครูเขมกาญจโนภาส (สุพรรณ) เป็นเจ้าอาวาส มีพระสงค์ 5 รูป สามเณร 1 รูปจำวัดอยู่ เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตนิกาย เป็นพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชให้จัดตั้งวัด ซึ่งนายพวงเล่าว่า นักวิชาการสันนิษฐานว่า เดิมทีที่เห็นนี้เคยเป็นทะเล ต่อมาเกิดการยกตัวขึ้นเป็นลานหินและพื้นดิน คาดว่าจะมีกลุ่มคนผู้เลี้ยงสัตว์ หรือนายพรานใช้เป็นเส้นทางการหากิน เนื่องจากพบรอยฝ่ามือคนข้างหินก้อนใหญ่รูปเรือสำเภาโบราณ  สำหรับรอยฝ่มือแดงนั้น กรมศิลปากรตรวจสอบแล้วยืนยันว่ามีอายุประมาร 2,500 ปี ใกล้เคียงกับที่ผาแต้ม จ.อุบลราชธานี นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งบริเวณที่น่าสนใจ คือ บ่อน้ำสีคราม กั้นกลางระหว่างหิน 2 ลูก ขอบบ่อเนรมิตรพญานาคสีทองขนาดใหญ่ 2 ตัว เมื่อเงาของพญานาคสะท้อนในน้ำ รวมกับแสงของพระอาทิตย์ในแต่ละช่วงวัด จะเกิดปรากฏการณ์น้ำสีต่าง ๆ จากคำบอกเล่าของเจ้าอาวาส

พระครูเขมกาญจโนภาส (สุพรรณ) เจ้าอาวาสวัดภูตะเภาทอง เปิดเผยถึงที่มาของชื่อวัดว่า ตั้งตามพื้นที่ก่อตั้งคืออยู่บนภูเขา และมีลักษณะหินก้อนหนึ่งที่ชาวบ้านในจังหวัดมีความเชื่อว่า หากมาลอดใต้ท้องหินคล้ายกับการลอดท้องช้าง ซึ่งหินมีรูปลักษณะหากมองจากด้านบนจะเห็นเป็นรูปเรือสำเภาโบราณ หากใครได้มาเยือนแล้วลอดใต้ท้องหินก้อนนี้หากขอเรื่องหน้าที่การงานให้เจริญรุ่งเรืองเสียเป็นส่วนใหญ่

“ เมื่อก่อนสถานที่แห่งนี้ไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยว เพียงแต่เป็นสำนักสงฆ์เท่านั้น วัดแห่งนี้สร้างเมื่อปี 2534 แต่เดิมวัดแห่งนี้ค่อนข้างถุรกันดาร เส้นทางคมนาคมขึ้นเขายังไปมาไม่สะดวก พัฒนามาเรื่อย ๆ มีคนมากราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์เชื่อว่าเป็นทางขึ้น ทางลงใหญ่ขององค์พญานาค จังหวัดอุดรก็ได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งอารยธรรมมีครูบาอาจารย์เยอะ อุดรธานีเป็นจังหวัดที่มีวัดมากที่สุดในประเทศไทย เพื่อช่วยกันบำรุงพระพุทธศาสนาให้สืบไป”

นายบริพันธ์ แสนดี ปลัดอำเภอหนองวัวซอ กล่าวถึงวัดแห่งนี้มีชื่อเรื่องความเชื่อเรื่องการสอบเข้างาน การเลื่อนตำแหน่งงาน ความเจริญในหน้าที่การงาน จุดไฮไลท์ที่มาวัดภูตะเภาที่มาแล้วไม่ควรพลาดชม อื่น ๆ  ได้แก่ รูปปั้นพญานาคราชสีทอง ชื่อมุจลินท์ ซึ่งหลวงพ่อคนก่อนได้สร้างขึ้นตามนิมิตร

นอกจากวัดโบราณสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังมีอีกหนึ่งวัฒนธรรมการกินที่น่าสนใจของวัดนี้ที่มีกินที่ อ.ตะเภาทองแห่งเดียวเท่านั้น คือ “ข้าวผัดจันผา” (ต้นจันผาขึ้นเฉพาะบนหินเท่านั้น)เปิดเผยโดย เบญจพร รัตนา เลขากลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปทางการท่องเที่ยวชุมชน 3 หนอง (หนองแวงจุมพล หนองแวงศรีชมภู หนองแวงศรีวิไล)กุดหมากไฟ ซึ่งเป็นอาหารพื้นถิ่นของที่นี่ เป็นลักษณะอาหารที่เฉพาะ เสิร์ฟมาในถาดสานไม้ไผ่ขนาดเล็ก ข้าวผัดสร้างสรรอัดใส่ลงในกรวยใบตองอีกที นอกจากสวยด้วยรูปลักษณ์ของการเสิร์ฟแล้ว ข้าวผัดจันผายังอุดมไปด้วยเครื่องเทศ ขา ตะไคร้ ใบมะกรูด หอมแดง กระเทียม ใส่ปลาร้าสับให้ละเอียดใส่ลงไป ผัดกับข้าว แต่ก่อนใส่ต้องคั่วปลาร้าก่อนให้สุก เมื่อชิมแล้วข้าวผัดจะมีรสชาติเผ็ดนิด ๆ อาหารจานนี้จะทำเฉพาะต้อนรับนักท่องเที่ยว ข้าวผัดจันทาวิธีการผัดถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ผู้เฒ่าผู้แก่หวงสูตรนี้เอาไว้ สืบทอดเฉพาะลูกหลาน ต.หนองวัวแห่งเดียวเท่านั้น

เมื่อรับประทานข้าวผัดจันผาเสร็จ ปิดท้ายด้วยของหวาน “ข้าวเหนียวมะม่วงสูตรโบราณ” จิบแก้กรหายด้วยชาจันผาตากแห้ง และน้ำมะม่วง ซึ่งมะม่วงนั้นคัดสรรมะม่วง น้ำดอกไม้สีทอง เสิร์ฟมาในถาดไม้ไผ่เล็ก ๆ ประดับด้วยกิ่งต้นจันทาที่ขึ้นบริเวณโดยรอบวัดแห่งนี้ สำหรับผลมะม่วงนั้น เลือกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง ผลไม้ที่ปลูกได้ในพื้นถิ่น แต่หากนอกฤดูก็ใช้มะม่วงตามฤดูกาลก็ได้ เช่น มะม่วงโชคอนันต์ เป็นต้น

สำหรับผู้สนใจ หรือนำคณะเยี่ยมชม สามารถติดต่อ ตัวแทนชุมชน มัคคุเทศก์น้อย นำเที่ยวและบรรยาย และหากเข้าให้ลึกถึงแก่น สามารถสั่ง ข้าวผัดจันผา ข้าวเหนียวมะม่วง น้ำมะม่วง ให้ชาวบ้านจัดเป็นชุดไว้ต้อนรับได้ ราคาไม่แพง พร้อมบริการอย่างดี

 เบอร์โทรศัพท์ตัวแทนชุมชน กลุ่มนำเที่ยวกุดหมากไฟภูเตะเภาทอง คุณเบญจพร 098 096 6885