ดับเบิ้ลดีกรี หรือ สองปริญญา ดีกว่าอย่างไร??? เหตุใดจึงเป็นจุดแข็งของวิทยาลัยนานาชาติ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า เทคโนโลยี & ดิจิทัล ที่พัฒนารุดหน้ารวดเร็ว ขณะเดียวกัน ก็ทำลายล้างหลายๆ วิชาชีพให้หายไปจากระบบ เมื่อผู้ซื้อเจอกับผู้ขายได้เอง  “พ่อค้าคนกลาง” ก็เหมือนถูกฆ่าตัดตอน “ผู้อยู่รอด” คือผู้ที่สามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ และสร้างความแตกต่างให้กับตนเองและโปรดักส์แบบทันยุค 

ดังนั้น “เทรนด์หลักสูตรการศึกษาในช่วงหลัง เป็นการร่วมมือกันระหว่างสองหน่วยงาน คือสถาบันการศึกษา และองค์กรวิชาชีพเฉพาะทาง   ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของบัณฑิตในการได้เรียนรู้ภาคทฤษฏีและฝึกงานปฏิบัติจริง อีกทั้งยังสามารถใช้เครือข่ายขององค์กรพัฒนาต่อยอดหรือผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพตรงตามสเปคของงานได้” 

ผศ.ดร. สมพิศ ขัตติยพิกุล คณบดี วิทยาลัยนานาชาติ ม.ศิลปากร ให้สัมภาษณ์ถึงการปลุกปั้นวิทยาลัยนานาชาติ ม.ศิลปากร ให้เป็นอีกหนึ่งทางออกในยุคที่แย่งชิงเหล่าว่าที่นักศึกษาหัวกะทิเข้ารั้วการศึกษาด้วยกลยุทธ์เรียนที่นี่ได้ดับเบิ้ลดีกรี สองปริญญา จากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง   วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร  ได้ ตระหนักถึงความจำเป็นในการเตรียมบัณฑิต  ให้พร้อมในการรองรับการเจริญเติบโตของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและสากล  ทั้งนี้เพื่อการผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพและมุมมองในระดับนานาชาติ โดยใช้ความรู้ทางการบริหารธุรกิจและการออกแบบในการสนับสนุนการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน  ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จึงได้พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อเข้าสู่ระดับมาตรฐสากล”

“หัวใจของหลักสูตรของวิทยาลัยนานาชาติศิลปากร นั้นเราเน้นที่หลักสูตรที่ได้ ดับเบิ้ลดีกรีมาตลอดและเน้นการฝึกที่ทำให้ได้เราเติบโตในตลาดในตอนนี้  ฟีราโซฟี่หลักๆ ของวิทยาลัยนานาชาติ เด็กที่เข้ามาเรียนจะได้ สองปริญญามาตลอด คือปริญญาแรก จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ปริญญาจากพาร์ทเนอร์ของเรา  พาร์ทเนอร์ของเราก็คือ สถาบันวาแตล ประเทศฝรั่งเศส ปารีส สคูล ออฟ บิสซิเนส ประเทศฝรั่งเศส  BCU เบอร์มิ่งแฮม ประเทศ อังกฤษ (Birmingham City University, England)  พร้อมเปิดโอกาสให้นักศึกษาไปเรียนในต่างแดน” 

เหตุผลที่ทำไมต้อง “ดับเบิ้ลดีกรี” หรือ “สองปริญญา” ท่านคณบดีเผยว่า แม้โลกยุคนี้จะเปลี่ยนแปลงเร็ว แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลง มองให้ลึกลงไป เป็นแค่เครื่องไม้เครื่องมือเท่านั้น ซึ่งที่จริงแล้ว  “บุคคล” ต่างหากคือ “ผู้บงการ”  และ “ผู้ดำเนินการ” ดังนั้นที่ต้องทำและควรทำอย่างยิ่งคือการเตรียม “บุคลากร” รุ่นใหม่ๆ ให้มีความเชี่ยวชาญ ทั้งด้านเทคโนโลยี ภาษาอังกฤษ และองค์ความรู้ให้แตกฉานในแต่ละสาขาที่เรียน  ต่อไปโลกจะแคบลง ทุกอย่างจะใกล้กันมากขึ้น การมีสองใบปริญญา อธิบายง่าย ๆ ว่าสองย่อมดีกว่าหนึ่ง!!

 ทั้งนั้นในปีการศึกษา 2017  วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ เปิด  6  หลักสูตรที่รองรับเศรษฐกิจดิจิตอล เช่น หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการตราสินค้าหรูหรา B.B.A. in Luxury Brand Management เป็นหลักสูตร 2 ปริญญา ร่วมกับ Paris School of Business สาธารณรัฐฝรั่งเศส ครอบคลุมเนื้อหาพื้นฐานทางการบริหารธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการตราสินค้าหรูหราอย่างสมบูรณ์ รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ตราสินค้า  มุ่งเน้นการนำความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมมาสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่กลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปใช้ต่อยอดในอนาคตซึ่งไม่เพียงแต่ในประเทศแต่ยังรวมถึงต่างประเทศที่อุตสาหกรรมสินค้าหรูหรายังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

กลุ่มตลาดของคำว่า Luxury ตอนนี้ถือว่าเป็นกลุ่มตลาดที่มีมูลค่าสูงมาก เชื่อว่า ภายในปี 2563 มูลค่าตลาดรวมทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 290 กว่าพันล้านยูโร ฉะนั้นกลุ่มตลาดตรงนั้นยังต้องการแรงงานที่มีความรู้พื้นฐานเข้าไปเป็นกำลังสำคัญอย่างจริงๆ จัง ๆ โดยที่ประเทศไทยเองได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ภาคเอกชน  รัฐบาลพยายามจะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการช้อปปิ้งอย่างหรูหรา กลายเป็นจุดท่องเที่ยว  หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรแรก และหลักสูตรเดียวในระดับอุดมศึกษา ที่ใช้คำว่า Luxury Brand Management  ไม่ได้เป็นเพียงแค่หนึ่งรายวิชาของนักศึกษา การเรียนการสอนจะเกิดขึ้นเป็นภาษาอังกฤษตลอด 4 ชั้นปี เนื้อหาจะครอบคลุมทุกมิติของคำว่า “Luxury Brand”  … คำว่า Luxury โดยความหมายของมันเองคือ ความหรูหราที่เกินมากกว่าความจำเป็นในการดำรงชีวิต  มันเป็นการเล่นกับอารมณ์ของคน อารมณ์ของลูกค้ามากกว่าเหตุผล  มันคืออารมณ์ล้วน ๆ เราจึงต้องมาเรียนรู้ว่าเราจะเล่นตรงนี้อย่างไร เราจะวางแผนธุรกิจตรงนี้อย่างไร เราจะทำอย่างไรให้ลูกค้าเขาซื้อและแฮปปี้กับสินค้าของเรา

ท้ายสุดท่านคณบดี กล่าวเป็นข้อคิดว่า  “เครื่องมือ” ยิ่งพัฒนาไปไกลเท่าไหร่    คนเรา ในฐานะผู้ควบคุม ก็ต้องพัฒนาตนเองให้รุดหน้าไปเท่านั้น  หรือหากใครมีศักยภาพ วิ่งไปได้ไกลกว่าถึงขั้น  “ควบคุม”  จึงเรียกได้ว่าเป็นระยะปลอดภัย เป็นบุคลากรที่พร้อมสำหรับการทำงานทั้งในและต่างประเทศ  แม้ระบบการศึกษาในแต่ละประเทศ  จะไม่เหมือนกัน  แต่ความรู้ด้าน  “เทคโนโลยี” และ “ภาษาอังกฤษ” จะเป็นตัวคัดเกรดได้อย่างมาตรฐาน  “วิทยาลัยนานาชาติ” จึงตอบโจทย์สำหรับนักศึกษา ในการเตรียมพร้อม เข้าสู่ยุค 4.0