เทคนิคจับปลาในน่านน้ำสีคราม ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ตอนที่ 1

  • เศรษฐกิจเปรียบดั่งมหาสมุทร ทั้งเรดโอเชี่ยน บลูเอเชี่ยน การจะทำอย่างไรให้องค์กรและตัวเองอยู่รอดเป็นเรื่องใหญ่
  • ข้อมูลจากงาน  Krungsri Business Forum 2018  ติดอาวุธให้กับผู้ประกอบการ นักลงทุน ฯลฯ มีแนวคิดหลายอย่างเป็นประโยชน์น่าฟัง
  • วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ที่จะมาร่วมงานสัมมนา ดร.สมประวิณ  มันประเสริฐ    ดร.สันติธาร เสถียรไทย Group Chief Economist , Sea Limited Professor Chan Kim  ผู้เขียนหนังสือ  Blue Ocean  
  • หากเป้าหมายคือน่านน้ำสีคราม นิพพานทางเศรษฐกิจ ปลอดซึ่งภาวะการแข่งขัน  win win ทุกฝ่าย ในยุคต่อไปนี้ ควรทำอย่างไร

ดร.สมประวิณ  มันประเสริฐ  Executive Vice President ,

Head of Krungsri Research ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) 

เปรียบเศรษฐกิจไทยดั่งใบไม้เปลี่ยนสี 

            “เราเติบโตมาระยะหนึ่งแล้วและเติบโตต่อไป แต่ไม่อาจเร็วได้เหมือนที่ผ่านมา” เริ่มต้นประโยคที่เอาผู้ฟังใจหายใจคว่ำ แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวตีตั๋วไปชมวงจรธรรมชาติใบไม้เปลี่ยนสีมากมาย ทว่าหากเปรียบเป็นเศรษฐกิจ แน่นอนว่าหลายคนไม่อยากเจอวงจร “ร่วง”

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเศรษฐกิจโลกโตเท่าเดิม แต่ประเทศใหญ่เติบโตชะลอลง ฉะนั้นสิ่งตามมาความต้องการสินค้า อนาคตคงไม่ได้โตเร็ว แต่หลักการมาตรฐานคื่อถ้าเกิน 3 เปอร์เซนต์ ไอเอ็มเอฟบอกว่าขยายตัวต่อได้! เพียงถ้าเติบโตช้าหรือชะลอ กลไกการป้องกันการค้าระหว่างประเทศ การปกป้องนำเข้าสินค้าจะมีให้เห็น อย่างประเทศจีน กลางปี ก.ค.  มีพัฒนาการที่เกิดขึ้นจากกระแสปกป้องทางการค้า เข้มงวดมากขึ้น แต่ไม่ถึงกับน่ากลัว เพราะถ้ามองให้ดี สิ่งที่เกิดขึ้นมีแค่สองฝ่าย  อเมริกาป้องกันจีน ตั้งกำแพงภาษีขึ้นกันและกัน แต่สองประเทศยังต้องใช้ บริโภค เราพบว่าสองคนนี้เหมือนทะเลาะกันแต่ก็พยายามสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศอื่นๆ จีน หันคุยกับ ยุโรป และล่าสุดไปคุยกับญี่ปุ่น ส่าวนอเมริกา หันไปคุยกับ ยุโรป เกาหลีใต้  ผมคิดว่าเป็น Trade war ระหว่างสองประเทศเท่านั้นเอง

 

การค้า ดอกเบี้ย ฯลฯ กำหนดธีมเศรษฐกิจไทยปีหน้า

ปัจจุบัน การลดอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำ ความจำเป็นการใช้นโยบายที่ผ่อนคลายมากขึ้น ไม่จำเป็นแล้ว ประเทศเราปรับเข้าสู่ภาวะปกติ (เริ่มขึ้นดอกเบี้ย)  การมองเศรษฐกิจว่าดีหรือไม่ดี มาตรฐานดูที่ตัวเลข ไทยโต 4.6 (บอกโตดี)  จีนโต 6.5 (บอกโตไม่ดี)  ทั้งที่โครงสร้างต่างกัน เปรียบกันไม่ได้ ให้เปรียบกับตัวเอง เรารู้สึกมากขึ้นกับแรงขับเคลื่อนในประเทศหรือไม่??  เท่าที่ติดตามรายเดือน ปัจจุบันการบริโภคดีขึ้น คนเริ่มรู้สึกมากขึ้น เอกชนฟื้นได้

สิ่งสำคัญอีกประการในอีกสองสามปีข้างหน้า การลงทุนสร้างพื้นฐานภาครัฐ สองล้านล้าน มีผลมากต่อภาวะเศรษฐกิจเชิงบวก ตอนนี้เราเห็นรถติด ต่อไปจะติดมากขึ้น  ปี 2018  รัฐใช้เงินมหาศาล  นี่เราเพิ่งอยู่ตีนเขาเศรษฐกิจ เดี๋ยวเพิ่มอีกสี่เท่า เราเตรียมนักวิเคราะห์ตามเป็นรายโครงการเลย

การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน   มีสามขั้นตอน ศึกษาออกแบบ, ประมูล,  ขึ้นสัญญาภาครัฐ, ก่อสร้าง (ร่างสัญญาแล้วต้องทำโดยอัตโนมัติ) ปัจจุบันภาครัฐเร่งชึ้นสัญญา ประมูลเยอะมาก ต้นปีหน้าจะเกิดการก่อสร้างขึ้นส่วนใหญ่    การท่องเที่ยว  แม้จะไม่หวือหวาเหมือนที่ผ่านมา  ปีนี้เกินสี่สิบล้านคนได้  สองในสามของประเทศไทยทั้งหมด ถือว่าไม่ได้น้อยเลย เราเคยเจอเหตุการณ์ปิดสนามบิน ประท้วง ปฏิวัติ ชัตดาวน์ แต่จากตัวเลข คล้อยหลังสี่เดือนนักท่องเที่ยวกลับมา

ด้านการส่งออก บางคนมองติดลบ ผมเรียนว่ามันยากที่จะดูเป็นรายเดือน เพราะเทรนด์ระยะยาวเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว  หากรัฐบาลถอนมาตรฐานกระตุ้นเศรษฐกิจ แปลว่ามันดีนะครับ ไม่ใช่ไม่ดี!!  (เชิงว่า ถ้าดีอยู่แล้วจะถอนทำไม) อย่างเรื่องทะเลาะกันของสองประเทศยักษ์ใหญ่ ที่หลายฝ่ายเป็นกังวลอาจทำให้เศรษฐกิจในประเทศเล็กๆ พลอยซึมยาวไปด้วย ข้อมูลเราพบว่า เขาทะเลาะกันเขาก็โดนกันสองคน ไทยเองเป็นหนึ่งในสามของประเทศที่ได้ประโยชน์ด้วยซ้ำ  (วินฟอลลล)

ประเทศต่างๆ เริ่มขึ้นดอกเบี้ย (ขึ้นเร็ว เงินไหลออก)  ประเทศกำลังพัฒนาเปราะบางมากกว่าประเทศพัฒนาแล้ว ที่ผ่านมาตลาดหุ้นผันผวนมาก ค่าเงินของอีเมอร์จิ้ง ฟิลิปปินส์ อินโด กระทบค่อนข้างมาก แต่เมื่อเทียบกับอดีตยี่สิบปีก่อน เราอยู่ในตำแหน่งที่ดีมากขึ้น ความเข้มแข็งของประเทศมีมากกว่าในอดีต ใน 1-5 ปีข้างหน้า หลักๆ ยังไม่มีอะไรน่าเป็นกังวล

 

มองภาพยาวขึ้นในอีก 20 ปี

สมัยก่อนเราโตได้ 5.8 ตอนนี้โต 4  ถ้าท่านยิ่งอยากขึ้นสูง ยิ่งต้องใช้ความพยายามมากขึ้น เหมือนเศรษฐกิจ จะใช้ เครื่องยนต์ตัวเดิมคงไม่ได้ สิ่งที่ต้องทำคือเปลี่ยนตัวเครื่อง ยกเครื่องกันไปเลย นั่นคือสิ่งที่ประเทศไทยทำอยู่

เรายกระดับไทยแลนด์ 3.0 คน มีเครื่องจักร พอมา 4.0 ใส่ไอเดียมากขึ้น ภายใต้คนเครื่องจักรที่มีอยู่ การพูดลอยๆ ทำไม่ได้ ต้องทำผ่านโปรเจคต์ขึ้นมา ที่ผ่านมามี BOI ให้ภาษียกเว้นเป็นกรณีพิเศษเพียงอย่างเดียว แต่นักลงทุนต้องไปดิ้นรนเอาเอง แต่ต่อมาการมี EEC การลงทุนโครงสร้าง เราให้แรงจูงใจ สิ่งอำนวยความสะดวก ทำธุรกิจและธุรกรรมได้ง่ายขึ้น สำหรับ EEC มี 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่โดดเด่น คือออโต้, รถยนต์ ย้อนกลับไปเราไม่รู้หรอกว่าไทยจะผลิตรถยนต์ได้เก่งขนาดนี้ และยังจะได้รุดหน้าพัฒนาต่อไปไม่หยุดยั้ง  ในอนาคตบอกได้เลย รถยนต์ในไทยจะไม่เหมือนอย่างที่เห็นหรอก เพราะปัจจัยการเปลี่ยนแปลง  1 เทคโนโลยี   2 พฤติกรรม เอื้อให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เปลี่ยนไป  ย้อนกลับไป 20-30 ปี ความสุข  คือ นั่งในรถที่ดี ต่อไปการคอนเนคทีวิตี้กับสิ่งต่างๆ ในรถ ยิ่งมีมากขึ้นยิ่งดี ฉะนั้น หนึ่งรถในอนาคตจะสะอาดขึ้น สองออโตโนมัสมากขึ้น (ดาวเทียม จีพีเอส ฯลฯ) สามมันต้องเชื่อมกันมากขึ้น คุยกันได้ สื่อสารกันได้ และสุดท้ายการแชร์ประโยชน์กัน อนาคตรถยนต์เกี่ยวข้องกับภาคบริการมากขึ้นด้วย

 

โลกเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใหญ่ แต่โอกาสเป็นของผู้เล่นใหม่เสมอ

มองเศรษฐกิจ แผน การลงทุนพื้นฐาน การลงุทนของเม็ดเงินที่กระโดด ทำให้ธุรกิจดีขึ้นแน่นอน แต่ต้องลองประเมินในแต่ละเช็คชั่นอย่างละเอียด  สิ่งที่เกิดขึ้นเห็นภาพอย่างไร  แม้ปัจจุบันอาจไม่ได้เห็นสวยหรูทั้งหมด  แต่ท้ายที่สุดอยากให้จำไว้ ทุกอย่างไม่ได้เกิดขึ้นในวันสองวัน ใช้เวลาอีกยี่สิบปี  ฉะนั้นเราน่าจะมีทางไปต่อได้ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเป้าหมาย  10 อุตสาหกรรม EEC ที่คาดหวัง แบ่งเป็น 4 เฟส ตอนนี้หย่อนต้นกล้าลงไปแล้ว  โครงสร้างพื้นฐาน การก่อสร้าต่างๆ หลังจากนี้จะเห็นภาพการผลิตที่เข้มข้นมากขึ้น ทั้ง สมาร์ทอิเลคทรอนิค, รถยนต์แบบใหม่ ประเทศไทยโฟกัสเทคโนโลยีมากขึ้น ขณะที่การบริการ (ท่องเที่ยว รักษาพยาบาล) ยังเป็นความหวังกับเศรษฐกิจไทยด้วย

แม้โลกกำลังเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครั้งใหญ่ ถ้าได้ย้อนกลับไป  มันมีโอกาสสำหรับผู้เล่นใหม่เสมอ ถ้าเราเข้าใจ หยิบฉวยโอกาส สุดท้ายผมขอหยิบคำพูดของ  จอห์น เมนาจ เคน มากล่าว  “ลงทุนที่ประสบความสำเร็จเกิดขึ้นได้จากการคาดการณ์ คาดหวัง สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต”